ฮิตาชิ (Hitachi) เผยโฉมปัญญาประดิษฐ์ กับความสุข (AI and Happiness) โซลูชั่นที่ให้ความสำคัญ และช่วยเพิ่มความสุขให้พนักงานในองค์กร…

highlight

  • ฮิตาชิ เดินหน้าพัฒนาค้นคว้าโซลูชั่นเพื่อแก้ไขปัญหาความเครียดให้กับพนักงาน  โดยการนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาปรับใช้ในองค์กร ผ่านการจัดเก็บข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน พฤติกรรมการเคลื่อนไหว  อัตราการเต้นของหัวใจ  หรือแม้กระทั่งการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานของพนักงานในแต่ละวัน เพื่อใช้วางแผนในการสร้างกระบวนการทำงานที่มีความสุขให้แก่พนักงานในองค์กร

Hitachi ล้ำใช้ AI สร้างโซลูชั่นพัฒนากระบวนการทำงานที่มีความสุขให้พนักงาน

มร.คาซุโอะ ยาโน (Dr. Kazuo Yano) ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จากบริษัท ฮิตาชิ กล่าวว่า พฤติกรรมการทำงานที่มีการแข่งขันสูง กดดัน และให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของงานของชาวญี่ปุ่น ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ญี่ปุ่น เกิดการเติบโตทัดเทียมในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง  

Hitachi
มร.คาซุโอะ ยาโน ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จากบริษัท ฮิตาชิ

ซึ่งหลาย ๆ หน่วยงานต่างก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับสวัสดิการของพนักงานมากขึ้น ผ่านการคิดค้นนวัตกรรม โซลูชั่นต่าง ๆ โดยเฉพาะกับสภาวะจิตใจ ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากความเครียดในการทำงาน รวมถึงผลตอบแทนที่ได้รับ ส่งผลต่อความสุขในการใช้ชีวิตอย่างไร

โดย ฮิตาชิ  เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้เริ่มค้นคว้าโซลูชั่นเพื่อแก้ไขปัญหาความเครียดให้กับพนักงาน  โดยการนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาปรับใช้ในองค์กรตั้งแต่ปี 2549 เริ่มจากการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการทำงานกับคุณภาพของงาน ผ่านการนำนวัตกรรมติดตั้งเข้าไปในอุปกรณ์สวมใส่

ซึ่ง ฮิตาชิ ได้มุ่งมั่นค้นคว้าโซลูชั่นมานานกว่า 10 ปี เพื่อนำมาใช้กับพนักงานของเราให้มีความสุขในการทำงานให้มากที่สุด ซึ่งเราพบว่ากลุ่มคนวัยทำงานเป็นวัยที่มีความเครียดมากที่สุด ดังนั้นจึงนำเทคโนโลยี AI ที่ทางฮิตาชิมีอยู่ มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของพนักงาน  

ผ่านโซลูชั่น AI and Happiness ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งบนป้ายพนักงาน (Nametags) หรือ สายรัดข้อมือ (Wristband) ซึ่งจะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับพฤติกรรมการเคลื่อนไหว เพื่อเก็บข้อมูลการทำงาน พฤติกรรมการเคลื่อนไหว อัตราการเต้นของหัวใจ หรือแม้กระทั่งการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานของพนักงานในแต่ละวัน  

Hitachi

เพื่อตั้งสมมติฐานหาความเชื่อมโยงระหว่างความสุขของพนักงาน และประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนคุณภาพของผลงานที่ได้ แล้วนำมาวิเคราะห์ เพื่อแนะนำให้พนักงานทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียดระหว่างวัน จนสามารถยกระดับคุณภาพของผลงานที่ได้ดีมากขึ้น 

โดยจาการทดสอบจากพนักงาน 1 พันคน โดยนำเอาข้อมูลกล้ามเนื้อที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต ข้อมูลการตอบสนองทางเคมีของร่างกาย ข้อมูลทางด้านพฤติกรรม มาวิเอคราะห์ออกมาเป็นชุดความถี่ที่สะท้อนความรู้สึกของบุคคลมาพัฒนากระบวนการในการดำเนินงาน เราพบว่ามีพนักงานกว่า 27% มีความสุขมากขึ้น 

โดยเราพบว่าพนักงานที่ได้รับการรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานมีความยืดหยุ่นในการรับมือต่อสถานะการณ์​ที่เกิดขึ้นได้ดีมากกว่ากว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน ซึ่งกลุ่มหลังนี้จะมีความสุขน้อยกว่า กลุ่มแรกเป็นอย่างมาก นอกจากนี้จากสถิติยังพบว่าพนักงานที่ไม่มีความกลุ่ม แม้ว่าจะมีแค่คนเดียวที่ไม่มีความสุขในทีม

Hitachi

ก็จะส่งผลให้คนใยทีมมีประสิทธิภาพ​ในการทำงานของทั้งทีมลดลงด้วย แต่เมื่อเราใส่ใจกับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับผู้ร่วมงานและส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราเห็นว่าการเพิ่มความสุขส่งผลให้ประสิทธิผลของการทำงานเพิ่มขึ้นได้

“การใช้เทคโนโลยีในการเก็บรวบร่วมข้อมูล และวิเคราะห์เพื่อจัดหารูปแบบที่เหมาะสม จะสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับพนักงาน และเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กรได้อย่างยั่งยืน”

นอกจากนี้ เพื่อให้ข้อมูลที่ดีขึ้นเรายังได้จัดทำแอปพลิเคชั่น Happiness Planet ขึ้นเพื่อเก็บรูปแบบความสุขที่เกิดขึ้นของบุคคล ลงบนสมาร์ทโฟน โดยสามารถเก็บข้อมูลกิจกรรมประจำวัน แนะนำวิธีการสร้างความสุข การเก็บข้อมูลกิจกรรมที่สไคัญแล้วแปรเป็นค่าความสุข และนำข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์

Hitachi

เพื่อหารูปแบบความสุขเฉพาะตัวของพนักงานอีกด้วย ซึ่งจากผลสำเร็จทำให้ในอนาคตทางฮิตาชิเตรียมที่จะพัฒนาและนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาปรับใช้กับองค์กรให้มากขึ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และงานบริการให้ลูกค้า ภายใต้การเพิ่มความสุขของพนักงานในองค์กรของเรา 

Hitachi

ขอบเขตการวิจัยของฮิตาชิในการคิดค้นโซลูชั่น AI and Happiness

  1. องค์กรที่มีความสุขในการทำงานสูง  ส่งผลให้คุณภาพของงานสูงตามไปด้วย
  2. ความสุขส่งผลต่อผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเงิน
  3. ความสุขที่เกิดขึ้นในองค์กร  ไม่ได้คำนึงถึงประเภทของงานหรือพนักงาน

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.