Huawei ดึงบริการเทคโนโลยี AI ช่วยสู้ศึกโควิด-19 ทั่วเอเชียแปซิฟิก

หัวเว่ย (Huawei) ส่งบริการการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ (video conferencing) ด้วยเทคโนโลยี AI ผ่านเครือข่ายสัญญาณไร้สาย และสมาร์ทโฟน ให้กับประเทศต่าง ๆ ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก…

highlight

หัวเว่ยได้ร่วมมือกับอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย บังกลาเทศ และประเทศต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาด้านการสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน ด้วยบริการด้านเทคโนโลยี AI การประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ (video conferencing) ที่ทำงานบน หัวเว่ย คลาวด์ (Huawei Cloud)

Huawei ส่งบริการเทคโนโลยี AI ช่วยสู้ศึก โควิด19 ทั่วเอเชียแปซิฟิก

หัวเว่ย ส่งมอบบริการด้านเทคโนโลยี AI การประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ (video conferencing) เครือข่ายสัญญาณไร้สาย และสมาร์ทโฟน ให้กับประเทศต่าง ๆ ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการช่วยผู้บริโภคต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19

ซึ่งหัวเว่ยได้ร่วมมือกับอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย บังกลาเทศ และประเทศต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาด้านการสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อให้แน่ใจว่า การเชื่อมต่อในประเทศดังกล่าวลื่นไหลไม่ติดขัด รวมถึงสนับสนุนบริการสาธารณูปโภคด้วยเทคโนโลยีระดับนวัตกรรมในช่วงที่เกิดการระบาดใหญ่ของโควิด-19

Huawei

ระบบสาธารณสุขถือเป็นแนวหน้าของการต่อสู้กับโรคระบาดในครั้งนี้ นวัตกรรมการสื่อสารทางไกลเพื่อการแพทย์ (Telemedicine) ของหัวเว่ยได้พัฒนาการใช้งานในพื้นที่สำหรับ 4 สถานการณ์หลักในการต่อสู้กับโคโรนาไวรัส ซึ่งได้แก่ การสตรีมสด (Live video streaming)

การร่วมมือกันปฏิบัติงานผ่านทางไกล (Remote collaboration), การวินิจฉัยโรคทางไกล (Remote diagnosis) และการคุ้มครองทางไกล (Remote protection) โดยทั้งหมดนี้ใช้งานได้ในสถานการณ์จริงในหลายประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

Huawei

สำหรับในประเทศไทย โซลูชันวิดีโอ เทเลคอนเฟอเรนซ์แบบเรียลไทม์เพื่อการแพทย์ (Huawei Telemedicine Video Conferencing Solution) ของหัวเว่ยซึ่งได้รับการติดตั้งในโรงพยาบาลหลายแห่ง รวมถึงกรมควมคุมโรค ส่งผลให้รัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์สามารถป้องกันการแพร่ระบาด

ร่วมกับหลายฝ่ายในการปฏิบัติงาน ปรึกษาหารือผ่านเครือข่ายออนไลน์ และฝึกอบรมแบบมีปฏิสัมพันธ์กันได้ ซึ่งไม่เพียงช่วยเสริมศักยภาพการวินิจฉัยโรคเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อให้กับทีมแพทย์ได้อย่างเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยได้ร่วมเป็นประธานในการเปิดตัวโซลูชัน 5G ของหัวเว่ย รวมถึงเทคโนโลยีผู้ช่วย AI เพื่อการรักษาและวินิจฉัยโควิด-19 ที่มาพร้อมกับการเชื่อมต่อความเร็วสูงและค่าความหน่วง (latency) ต่ำ

ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพให้กับประเทศไทยในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เป็นอย่างมาก ส่วนในประเทศฟิลิปปินส์ โรงพยาบาลและศูนย์แพทย์บาเกียว (Baguio General Hospital and Medical Center) ได้ติดตั้งโซลูชันคัดกรองผลตรวจ CT ด้วยผู้ช่วย AI (AI-assisted CT Screening) ของหัวเว่ย เพื่อช่วยแพทย์ตรวจหาผู้ป่วยโควิด-19

Huawei

ในประเทศบังกลาเทศ กระทรวงสาธารณสุข และสวัสดิการครอบครัว (Ministry of Health & Family Welfare) และศูนย์อำนวยการทั่วไปด้านสุขภาพและบริการ (Directorate General of Health and Services) ใช้ระบบการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ของหัวเว่ยเพื่อช่วยรัฐบาลรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาด เสริมประสิทธิภาพของการร่วมมือกันปฏิบัติงานผ่านทางไกล และลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับทีมแพทย์

นอกจากนี้ บริษัท 7-Network ของสิงคโปร์ ยังได้ใช้โซลูชันของ หัวเว่ย คลาวด์ เป็นแพลตฟอร์มบันทึกข้อมูลสุขภาพรายวันให้กับบรรดาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) อีกด้วย โดย โซลูชันผู้ช่วย AI เพื่อการวินิจฉัยโรคของหัวเว่ย ซึ่งตั้งอยู่บนแพลตฟอร์มของ หัวเว่ย คลาวด์ ช่วยลดระยะเวลาการวินิจฉัยโรค

ได้เป็นอย่างมาก และทำให้สามารถระบุและยืนยันเคสผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ได้รวดเร็วขึ้น โดยระบุระยะของการติดเชื้อได้อย่างแม่นยำว่าอยู่ในระยะเริ่มต้น ระยะลุกลาม หรือระยะรุนแรง จึงประหยัดเวลาในการรักษา และลดปริมาณเคสสะสมได้

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัว โครงการ AntiCOVID19 Partner Program ของ หัวเว่ย คลาวด์ ในฐานะส่วนหนึ่งของแผนการต่อสู้กับโควิด-19 ซึ่งให้ความสำคัญกับ 5 สถานการณ์หลัก ได้แก่ การปฏิบัติงานทางไกล, การรองรับ AI, การช่วยเหลือธุรกิจองค์กร, ด้านสาธารณสุขอัจฉริยะ และการศึกษาออนไลน์

โดยกลุ่มพาร์ทเนอร์ที่เข้าร่วมโครงการนี้ ไม่เพียงแต่ได้รับการสนับสนุนด้านธุรกิจ ด้านเทคโนโลยี และด้านการตลาดอย่างครบวงจรเท่านั้น แต่ยังได้รับโอกาสในการใช้บริการคลาวด์มูลค่ากว่า 30,000 ดอลลาร์สหรัฐโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

ในด้านสาธารณสุข หัวเว่ย คลาวด์ มีแพลตฟอร์ม EIHealth ที่ประกอบด้วยบริการต่างๆ เช่น การตรวจหาจีโนมของไวรัส (viral genome) การทดสอบยาต่อต้านไวรัสด้วยกระบวนซิลิโคสกรีนนิ่ง (silico screening) และการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ผู้ช่วย AI วิเคราะห์ผลตรวจ CT scan

สำหรับด้านองค์กรธุรกิจ หัวเว่ยได้ส่งต่อความช่วยเหลือแก่กลุ่มองค์กรที่ต้องย้ายธุรกิจต่าง ๆ ไปสู่คลาวด์ เพื่อรองรับการปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดที่ยังดำเนินอยู่

ในด้านการศึกษา หัวเว่ย คลาวด์ ได้ร่วมงานกับพาร์ทเนอร์หลายรายในการส่งมอบบริการการศึกษาออนไลน์ให้แก่โรงเรียนและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง โดยบริษัท Ulearning จากประเทศอินโดนีเซียได้ร่วมกับ หัวเว่ย คลาวด์ เพื่อเปิดตัวโซลูชันการศึกษาออนไลน์

ซึ่งได้นำไปปรับใช้กับมหาวิทยาลัยมูฮัมมาดียะห์ ยาการ์ตา (Muhammadiyah University of Jakarta) โดยเมื่อไม่นานมานี้ หัวเว่ยยังได้จัดกิจกรรมสัมมนาผ่านเว็บไซต์ webinar ร่วมกับ UNESCO IITE และ UNESCO ICHEI สำหรับการเรียนออนไลน์ของระดับอุดมศึกษา

Huawei

เพื่อเปิดตัวหลักสูตร Learn ON ที่ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี ICT รับมือในช่วงเหตุการณ์วิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ สร้างโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับนักเรียนนักศึกษากลุ่มต่างๆ ในหลากหลายพื้นที่ โดยคาดการณ์ว่าจะมีนักศึกษากว่า 50,000 คน

ที่จะได้รับการเรียนการสอนผ่านคอร์สเรียนออนไลน์ด้วยตัวเอง (self-learning courses) และยังมีโครงการเปิดคอร์ส “เทรนผู้ฝึกสอน” อีกกว่า 100 ชั้นเรียน โดยจะฝึกอบรมครูผู้สอนจำนวนมากกว่า 1,500 คน ซึ่งจะเริ่มจากเดือนเมษายนไปจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 นี้

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.