เจาะภารกิจ ทีม AIS ROBOTIC LAB ลุยสร้าง หุ่นยนต์ 5G ช่วยหมอดูแลผู้ป่วยโควิด-19

ทีม AIS ROBOTIC LAB ลุยสร้างหุ่นยนต์ 5G ช่วยหมอดูแลผู้ป่วย โควิด-19 ส่งมอบถึง รพ. แล้ว ชู “5G ที่จับต้องได้ เพื่อทุกชีวิต” ร่วมพลิกโฉมให้วงการแพทย์…

highlight

  • เอไอเอส เดินหน้าภารกิจ “เอไอเอส 5G สู้ภัย โควิด-19” เต็มสูบ นำพลานุภาพ 5G ร่วมแก้วิกฤต ช่วยเหลือคนไทยทุกภาคส่วน เปิดเส้นทางทีม เอไอเอส โรโบติกส์ แล็ป แล็บพัฒนาหุ่นยนต์ 5G รายแรกรายเดียวในไทย ผู้อยู่เบื้องหลังผลงาน หุ่นยนต์ 5G ผู้ช่วยคุณหมอ ตัวแรกของประเทศ ที่เชื่อมต่อระบบปฏิบัติการบนเครือข่าย 5G ได้สำเร็จ อันเกิดจากขีดความสามารถของทีมงานหัวกะทิด้านดิจิทัล จาก เอไอเอส NEXT หน่วยงาน Innovation ที่ทุ่มเทออกแบบระบบ 5G Robot Platform ขึ้นเอง ผสมผสานระหว่าง เทคโนโลยี เครือข่าย การแพทย์ ออกมาเป็น หุ่นยนต์ทางการแพทย์ 5G Robot For Care ที่สามารถ Customized ให้ตอบโจทย์การใช้งานของแต่ละโรงพยาบาลได้อีกด้วย
  • ส่งมอบหุ่นยนต์ให้กับโรงพยาบาลต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, สถาบันบำราศนราดูร และกรมแพทย์ทหารเรือ โดยหุ่นยนต์ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ ณ คลินิกและหอผู้ป่วยโควิด-19 ทำหน้าที่เข้าไปดูแลและตรวจอาการผู้ป่วยภายในห้องพักผู้ป่วย แทนหมอและพยาบาล ช่วยแบ่งเบาภาระ ลดเสี่ยง ลดสัมผัส เซฟแพทย์และพยาบาล โดยขณะนี้ ทีม เอไอเอส โรโบติกส์ แล็ป เร่งเครื่องพัฒนาหุ่นยนต์ 5G อย่างเต็มกำลัง และมีแผนส่งมอบทั้งหมด จำนวน 23 ตัว ให้กับโรงพยาบาล 22 แห่ง ภายในต้นเดือนพฤษภาคม 2563
  • ชู “5G ที่จับต้องได้ เพื่อทุกชีวิต” ร่วมพลิกโฉม สร้าง New Normal ให้วงการแพทย์ ด้วยศักยภาพของ 5G มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง ที่จะนำมาประยุกต์ใช้เป็นโครงข่ายดิจิทัลพื้นฐานสำคัญต่อการปฏิบัติงานทางการแพทย์ ถือเป็นการสร้างประสบการณ์การใช้งาน 5G ให้เห็นประโยชน์อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมที่สุด นั่นคือ การนำ 5G เข้ามาช่วยดูแลรักษาชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น และผ่านพ้นวิกฤตไปด้วยกัน

AIS Robotic Lab บรรลุเป้าสร้าง หุ่นยนต์ 5G ช่วยหมอดูแลผู้ป่วย โควิด19

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส กล่าวว่า ตามที่เอไอเอส ได้ประกาศวิสัยทัศน์ นำศักยภาพเครือข่าย 5G ที่ทรงพลานุภาพ และความรู้ความเชี่ยวชาญของคนเอไอเอส มาร่วมแรงร่วมใจ ช่วยแก้ปัญหาโควิด-19 เพื่อช่วยเหลือคนไทยและประเทศไทยของเราผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้

วันนี้ เราได้ทุ่มสรรพกำลังเครือข่าย 5G ตลอดจนระดมนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญที่มากด้วยประสบการณ์การพัฒนาหุ่นยนต์ของเอไอเอส จัดตั้งทีมเฉพาะกิจ เอไอเอส โรโบติกส์ แล็ป (AIS Robotic Lab by เอไอเอส NEXT) โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ทำงานบนเครือข่าย 5G

เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับทางการแพทย์ใช้งานจริง อย่างที่ทราบกันดีว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนัก ในฐานะด่านหน้าที่ต้องรับมือและเผชิญกับความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโดยตรงแล้ว โรงพยาบาลยังประสบปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ป้องกัน

AIS
วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส

อย่างเช่น หน้ากากอนามัย, ชุดป้องกันปลอดเชื้อ PPE อันเป็นอุปกรณ์จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์
โจทย์ของทีม เอไอเอส โรโบติกส์ แล็ป ในการพัฒนาหุ่นยนต์ จึงเริ่มต้นจาก Pain Point นี้ ทำอย่างไร เราจึงจะมีส่วนช่วยในการแบ่งเบาภาระ ลดความเสี่ยงติดเชื้อทั้งผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์

และมีฟังก์ชันที่ FIT IN ช่วยให้การทำงานของทีมแพทย์สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยขึ้น รวมถึงประหยัดงบประมาณในการใช้อุปกรณ์ป้องกันปลอดเชื้อ เอไอเอส โรโบติกส์ แล็ป จึงได้นำเทคโนโลยีขั้นสูงที่หลากหลาย เข้ามาผสมผสานกับเครือข่าย 5G

AIS

ภายใต้ระบบประมวลผล เอไอเอส Robot Platform ซึ่งเอไอเอสพัฒนาขึ้นเอง ออกแบบเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยคุณหมอ 5G Robot For Care ซึ่งมีฟีเจอร์อัจฉริยะ อาทิ

  • เทคโนโลยีอินฟราเรด ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายได้อย่างแม่นยำ โดยส่งผลข้อมูลผ่านเครือข่าย 5G ไปให้แพทย์ที่ให้การรักษาได้อย่างทันที
  • เทคโนโลยี 3D Mapping กำหนดแผนที่เส้นทางเดินของหุ่นยนต์ ให้เคลื่อนที่เข้าหาผู้ป่วยได้โดยอัตโนมัติ อย่างรวดเร็วและแม่นยำ และยังสามารถบังคับหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้ตามต้องการผ่านเครือข่าย 5G
  • Telemedicine ระบบปรึกษาทางไกลระหว่างแพทย์ และผู้ป่วยผ่านวิดีโอคอล เพื่อให้แพทย์ที่อยู่ด้านนอกห้อง ใช้สมาร์ทดีไวซ์ เชื่อมต่อมาที่ตัวหุ่นยนต์ เพื่อพูดคุย และดูอาการคนไข้ภายในห้องพักได้ ช่วยหลีกเลี่ยงการเข้ามาสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยตรงได้
  • เทคโนโลยี Cloud computing ในการประมวลผลจัดเก็บข้อมูลการรักษาพยาบาลผู้ป่วย

นอกจากนี้ ยังสามารถเสริมฟีเจอร์ต่างๆ ในตัวหุ่นยนต์ได้ตามที่แต่ละ รพ. ต้องการ อาทิ ตรวจวัดค่าออกซิเจนในเลือด, ส่งยาให้ผู้ป่วยถึงเตียง, บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือเคลื่อนที่ เป็นต้น 

AIS

พลิกโฉม และสร้าง New Normal ให้เกิดขึ้นในวงการแพทย์ไทย

โดยหัวใจสำคัญของหุ่นยนต์ คือ การปฏิบัติงานบนเครือข่าย 5G เพื่อใช้ในการประมวลผลในหลายส่วน อาทิ ค่าอุณหภูมิและ face signature ของผู้ถูกตรวจจะถูกถ่ายและส่งผ่าน 5G ไปเก็บที่ เอไอเอส เดต้า เซ็นเตอร์, สามารถ video call จากศูนย์ควบคุมมาที่หุ่นยนต์เพื่อให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ แก่ผู้ปฏิบัติการ,

สามารถอัพเดทความสามารถใหม่ ๆ ให้กับหุ่นยนต์จากศูนย์ควบคุมได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อขับเคลื่อนการทำงานบนเครือข่าย เอไอเอส 5G ที่มีความเร็วสูง (High Speed) การตอบสนองต่อการสั่งงานที่รวดเร็ว มีความหน่วงต่ำ (Low Latency) พร้อมรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ที่หลากหลาย (IoT Connectivity)

ทำให้หุ่นยนต์พร้อมปฏิบัติงานเข้าดูแลผู้ป่วยทันที การรับส่งข้อมูลระหว่างแพทย์กับหุ่นยนต์ก็เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาพยาบาลได้อย่างดี ในอนาคต ทีม เอไอเอส โรโบติกส์ แล็ป เตรียมพัฒนาขยายขีดความสามารถของหุ่นยนต์ให้สามารถรองรับบริการทางการแพทย์ที่หลากหลายมากขึ้น

AIS

อาทิ สั่งหุ่นยนต์ให้ทำงานผ่านทางเสียง, การทำความสะอาดด้วยตัวเอง ผ่าน Ozone และ UV, ด้วยความสามารถจดจำเส้นทาง และจดจำใบหน้าได้ หุ่นยนต์จะสามารถทำภารกิจอื่นๆ ได้ เช่น การตรวจเยี่ยม, นำทางผู้ป่วยไปรักษาในแผนกต่าง ๆ อีกทั้ง โลกของ IoT และ 5G ที่จะมีการติดต่อกันเองของอุปกรณ์ต่าง ๆ ข้อมูลจากหุ่นยนต์

และเครื่องมือตรวจวัดที่โรงพยาบาลหรือ Wearable จะนำมาประมวลผลร่วมกัน เช่น เมื่อเกิดความผิดปกติใดๆ ที่ตรวจจับได้จากเครื่องมือวัด หุ่นยนต์ก็สามารถจะมาเยี่ยมถึงเตียงได้โดยทันที เป็นต้น

ซึ่งเอไอเอส มีประสบการณ์การทดลองทดสอบ 5G ในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งการแพทย์ จึงเชื่อมั่นว่า 5G มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำมาประยุกต์ใช้เป็นโครงข่ายดิจิทัลพื้นฐานสำคัญต่อการปฏิบัติงานทางการแพทย์ และจะเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมแก้ปัญหาพาประเทศก้าวพ้นวิกฤตโควิด-19

ซึ่งเรายินดีอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสนำศักยภาพของเทคโนโลยี มาส่งมอบความช่วยเหลือให้กับประชาชนคนไทย และถือเป็นการสร้างประสบการณ์การใช้งาน 5G อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน เพื่อร่วมพลิกโฉมและสร้าง New Normal ให้เกิดขึ้นในวงการแพทย์ไทยในอนาคตอีกด้วย

ใช้ Robot ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากร และอุปกรณ์

AIS

นายแพทย์สุกรม ชีเจริญ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี ที่รับตรวจและรักษาผู้ป่วยโควิด-19 กล่าวว่า หุ่นยนต์ Robot For Care สามารถช่วยลดการติดต่อระหว่างคนไข้ติดเชื้อ กับบุคลากรทางการแพทย์ ได้ใน 3 ประเด็นหลัก ๆ ทั้งในด้านการลดภาระ

ในการใช้อุปกรณ์เครื่องป้องกันที่โรงพยาบาลประสบปัญหาขาดแคลนอย่างหน้ากากอนามัย และชุด PPE ซึ่งหุ่นยนต์สามารถเข้าไปตรวจวัดเบื้องต้นแทนได้, การลดความเสี่ยง และช่วยสนับสนุนมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ลดการติดต่อใกล้ชิดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และยังสามารถช่วยส่งยาให้กับผู้ป่วยถึงเตียงได้อย่างแม่นยำ

เพียงแค่ตั้งค่าพิกัด หรือบังคับทางไกล ซึ่งคนไข้ยังสามารถติดต่อสอบถามเมื่อมีข้อสงสัยในการทานยาผ่านกล้องหุ่นยนต์ได้ทันที

AIS

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า การติดตามและเฝ้าดูอาการผู้ป่วยโควิด-19 อย่างต่อเนื่องมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันอาการทรุดลงและทำการรักษาตามอาการได้อย่างทันท่วงที

สิ่งที่ทีมแพทย์ และพยายาลทำสม่ำเสมอคือการตรวจวัดอุณหภูมิเป็นระยะ ๆ ดังนั้น หุ่นยนต์ Robot For Care ถือว่าสามารถช่วยการทำงานได้อย่างตรงจุด โดยทางโรงพยาบาลได้นำมาใช้งานในการเฝ้าดูอาการผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งการตรวจวัดอุณหภูมิและระดับออกซิเจนในเลือด ซึ่งมีความแม่นยำและช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพ

AIS

ขณะที่ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า สำหรับโรงพยาบาลศิริราช จุดที่สำคัญที่สุดคือจุดคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ซึ่งผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษามีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นโจทย์ที่สำคัญว่า โรงพยาบาลจะรองรับผู้ป่วยในระหว่างที่เข้ามารับการตรวจ

ไม่ให้เกิดการติดต่อแพร่เชื้อเพิ่มสู่บุคลากรทางการแพทย์ หรือระหว่างแพทย์สู่ผู้ป่วย และผู้ป่วยสู่ผู้ป่วยด้วยกันเอง ดังนั้น การใช้หุ่นยนต์ 5G Telemedicine จะช่วยคัดกรองและเพิ่มระยะห่าง เท่ากับเป็นการลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ ซึ่งไม่ใช่แค่การใช้ช่วงวิกฤตการณ์ครั้งนี้เท่านั้น แต่ในอนาคตการให้บริการผู้ป่วยด้วย Telemedicine

AIS

ถือว่ามีประโยชน์และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพให้กับประชาชน ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาพยาบาลโดยไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล การมีสัญญาณเครือข่ายที่ดี ส่งข้อมูลได้เร็ว ให้ภาพที่คมชัด จะช่วยให้การรักษามีความแม่นยำ เสริมศักยภาพให้การทำงานของแพทย์ และหน่วยงานสาธารณสุขมากยิ่งขึ้น

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.