จับตาอนาคตสายงานวงการแพทย์กับ Health Data Scientist อาชีพดาวรุ่งดวงใหม่ แห่งยุคเทคโนโลยีดิสรัป (Technology Disruption) และการก้าวสู่การแพทย์แห่งอนาคต..
จับตาอนาคตสายงานวงการแพทย์กับ Health Data Scientist อาชีพดาวรุ่งของยุค Disruption
ในช่วงหลายปีที่ผ่
เกิดขึ้นทั้งในวงการสื่อ การธนาคาร การค้าปลีก การขนส่งโลจิสติกส์ มาจนถึงช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่เป็นเสมือนขุมพลังที่ทำให้
1 ในนั้นคือวงการแพทย์
แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
Data… AI… 5G… จุดเปลี่ยนสู่การแพทย์แห่งอนาคต
ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ อธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์
ซึ่งหากมาพิจารณาให้ลึกลงไปแล้ว การแพร่ระบาดของโรคในแต่
ซึ่งอาจเป็นเพราะคนญี่ปุ่นใส่
เรามีอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ที่มีบทบาทสำคัญที่ช่วยควบคุ
เทคโนโลยีอย่าง AI ก็จะเข้ามามีบทบาทสำคั
แต่อาจจะมีอุปกรณ์ที่
ปัจจุบันนี้ข้อมูลของผู้ป่วย จะถูกเก็บในเวชระเบี
และผู้ป่วยจะมีอำนาจในการตัดสิ
Health Data Scientist อาชีพดาวรุ่งดวงใหม่
Data Technology เป็นส่วนผสมสำคัญต่อการเปลี่
เพื่อเตรียมรับมือกับโลกอนาคต ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะแพท
ในต่างประเทศ ใครที่จบวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ เป็นสาขาที่บรรดาบริษัทยารีบคว้าตัวไว้เลย เพราะเป็นสาขาที่สำคัญมากในการคิดนวัตกรรมใหม่ๆ แต่สำหรับในไทย ใครที่จบสาขานี้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการแพทย์และสาธารณสุขในระดับชาติได้เลย เพราะการที่เรามี Data เป็นจำนวนมาก
เราต้องอาศัยการวิเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วย ดังนั้น คนที่อยู่ในอาชีพต้องมีความรู้ที่ผสานกัน ทั้งในด้านการแพทย์และเทคโนโลยี ต้องมีวิธีคิดที่เป็นระบบแบบนักวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะวิเคราะห์หาคำตอบของปัญหาจากข้อมูลนับล้านๆที่อยู่ตรงหน้าได้
คนในอาชีพนี้สามารถทำงานได้ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ ทำงานร่วมกับหมอและพยาบาล ไปจนถึงในระดับนโยบาย สามารถช่วยในการวางแผนนโยบายการสาธารณสุขได้ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติ
หมอ–พยาบาล แบบไหน?…ที่อนาคตต้องการ
อีกหนึ่งคำถามที่สำคัญ คือแพทย์ และพยาบาล จะต้องปรับตัวอย่างไรท่ามกลางคลื่นของดิสรัปชั่นนี้ ก่อนอื่นต้องมองว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เข้ามา ไม่ได้มาเพื่อควบคุมการทำงานของหมอและพยาบาล แต่ความก้าวหน้าเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่เขาต้องควบคุมมันและใช้ให้เกิดประโยชน์
ประการที่ 2 คือเทคโนโลยีเหล่านี้ไม่สามารถทดแทนมนุษย์ได้ เพราะท้ายที่สุดแล้วผู้ป่วยก็อยากได้รับการดูแลรักษาหรือได้คำปรึกษาจากมนุษย์ด้วยกัน มนุษย์ที่สามารถจะเข้าใจความรู้สึกกันและกันได้ ต่างจากหุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่ไม่มีทางเข้าใจความรู้สึกของความเป็นมนุษย์ที่ละเอียดอ่อนได้เลย
เป้าหมายของ ววจ. ในวันนี้คือการสร้างบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข ที่มีความเป็นมนุษย์ มี Empathy ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน สามารถมองลึกลงไปถึงความรู้สึก เข้าใจความเป็นทุกข์ของผู้ป่วยได้ และตระหนักว่าความรู้ความสามารถที่ใช้ในการรักษานั้น ลึกลงไปคือการช่วยให้คนได้พ้นทุกข์ สองคือต้องพร้อมรับในความเปลี่ยนแปลง
รู้จักการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆให้เกิดประโยชน์ ประการที่ 3 คือรู้จักคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งนี้เป็นเสมือนอาวุธที่ติดตัวไว้ ไม่ว่าจะมีโรคอุบัติใหม่อีกกี่ครั้งก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ รวมทั้งเป็นพื้นฐานของการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้การรักษา
และท้ายที่สุดคือต้องรู้จักสร้างความร่วมมือกับบุคลากรในสายงานอื่น ทำงานเป็นทีม เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันและสร้างพัฒนาการใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น
ด้วยเป้าหมายที่จะยกระดับประเทศไทยไปสู่การแพทย์แห่งอนาคต ปัจจุบัน ววจ. จึงพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัย เช่น หลักสูตรแพทย์แนวใหม่ที่ใช้ระยะเวลาเรียน 7 ปี และเมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับ 2 ปริญญา คือ ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
และปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต iBSc จากมหาวิทยาลัยยูซีแอล สหราชอาณาจักร ซึ่งนักศึกษาจะได้บินลัดฟ้าไปเรียนที่สหราชอาณาจักรหนึ่งปีเต็ม เพื่อเรียนรู้การสร้างงานวิจัยแบบเข้มข้น และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ ของคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข
ก็เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่สำคัญในการเตรียมพร้อมบุคลากรของประเทศให้มีทักษะความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และเข้าใจโลกของการแพทย์เพื่อรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและคิดหาคำตอบแบบดิจิทัล ตลอดจนถึงหลักสูตรในคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ และคณะพยาบาลศาสตร์ ที่พร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต
ทั้งในเรื่องเทคโนโลยี หรือสังคมผู้สูงวัยที่กำลังใกล้มาถึง หรือแม้แต่หลักสูตรในคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตววิทยาประยุกต์ ก็ยังเป็นหลักสูตรที่มีแนวคิด One Health ที่มีมุมมองว่าคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ล้วนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th