NIA เผยไทยครองอันดับ 43 ดัชนีนวัตกรรมโลกปี 2565 พร้อมตั้งเป้าก้าวสู่ชาตินวัตกรรม

NIA

เอ็นไอเอ (NIA) เผยไทยครองอันดับ 43 ดัชนีนวัตกรรมโลกปี 2565 โดยสัดส่วนการลงทุน R&D ของเอกชน – การส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ พร้อมเร่งผลักดัน นวัตกรรม เป็นวาระแห่งชาติพร้อมพาประเทศไทยสู่ชาตินวัตกรรม…

highlight

NIA

  • สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ เอ็นไอเอ (NIA) เผยผลการจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก ประจำปี 2565 (Global Innovation Index 2022 : GII 2022ภายใต้ธีมอนาคตของการเติบโตด้วยการขับเคลื่อนบนฐานนวัตกรรมคืออะไร (What is the future of innovation-driven growth?) ซึ่งจัดโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) เพื่อวัดระดับความสามารถทางด้านนวัตกรรม ของประเทศกว่า 130 ประเทศทั่วโลก 
  • นี้ประเทศไทยยังครองอันดับที่ 43 (ปี 2021 อันดับ 43) ถือเป็นอันดับ ในอาเซียนรองจากสิงคโปร์ อันดับ และมาเลเซีย อันดับ 36 โดยปัจจัยสัดส่วนค่าใช้จ่ายมวลรวมด้านวิจัย และพัฒนาที่ลงทุนโดยองค์กรธุรกิจ และปัจจัยสัดส่วนการส่งออกสินค้าสร้างสรรค์เป็นอันดับ ของโลก สำหรับปีนี้สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามอยู่ในอันดับ 48

NIA เผยไทยครองอันดับ 43 ดัชนีนวัตกรรมโลกปี 2565 พร้อมตั้งเป้าก้าวสู่ชาตินวัตกรรม

NIA
ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การจัดอันดับ GII 2022 ภายใต้ธีมอนาคตของการเติบโตด้วยการขับเคลื่อนบนฐานนวัตกรรมคืออะไร โดยคาดการณ์ผลกระทบของนวัตกรรมใน 3 ประเด็น ได้แก่

ผลิตภาพ (Productivity) อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ (Economic growth) และความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม (Well-being of society) ในทศวรรษที่กำลังจะมาถึง สำหรับผลการจัดอันดับความสามารถทางด้านนวัตกรรมในปีนี้ ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 43 

 

โดยในปีนี้ปัจจัยย่อยผลผลิตทางนวัตกรรม (Innovation output sub-index) อันดับที่ 44 (ดีขึ้น 2 อันดับ) ขณะที่ฝั่งปัจจัยเข้าทางนวัตกรรม (Innovation input sub-index) อันดับที่ 48 (ลดลง 1 อันดับ)

แต่ยังคงอยู่ในอันดับ 5 ของกลุ่มประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางระดับบน (Upper middle-income economies) จาก 36 ประเทศ โดยประเทศไทยมีอันดับที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยในทุกปัจจัย เช่นเดียวกับในกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 9 จาก 17 ประเทศ

ปัจจัยชี้วัดความสามารถด้านนวัตกรรม

สำหรับปัจจัยชี้วัดความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศไทยที่โดดเด่นมากที่สุด เป็นกลุ่มปัจจัยด้านระบบธุรกิจ ที่แม้จะมีการปรับตัวลดลงมาเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับที่ดี โดยเฉพาะสัดส่วนค่าใช้จ่ายมวลรวมด้านวิจัยและพัฒนาที่ลงทุนโดยองค์กรธุรกิจ (อันดับ 1 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3)

ซึ่งสะท้อนให้เห็นการลงทุนของภาคเอกชนไทยที่มุ่งเน้นเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจด้วยการพัฒนานวัตกรรมมากขึ้น และกลุ่มปัจจัยผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ ที่ภาพรวมปรับตัวดีขึ้น 6 อันดับ (อันดับที่ 49) โดยมีจุดแข็งด้านการส่งออกสินค้าและบริการเชิงสร้างสรรค์ (อันดับที่ 1)

นอกจากนี้ ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ก็มีภาพรวมดีขึ้นถึง 7 อันดับ (อันดับที่ 54) ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศไทยสามารถขยายตัวโครงสร้างพื้นฐานได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารอันดับดีขึ้น 14 อันดับ (อันดับที่ 46) โดยเฉพาะตัวชี้วัดการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (อันดับที่ 30)

การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT use) (อันดับที่ 49) และโครงสร้างพื้นฐานทั่วไปอันดับดีขึ้นอยู่อันดับที่ 44 โดยเฉพาะประสิทธิภาพด้านการขนส่งโลจิสติกส์ (อันดับที่ 31) ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทยในระดับกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับบน

อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ควรต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปัจจัยด้านสถาบัน ที่ภาพรวมอันดับลดลงถึง 14 อันดับ (อันดับที่ 78ปัจจัยด้านทุนมนุษย์ และการวิจัย ภาพรวมอันดับลดลง 8 อันดับ แต่ยังมีตัวชี้วัดด้านการวิจัย และพัฒนา (R&D) ของประเทศที่อันดับดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะสัดส่วนค่าใช้จ่ายมวลรวมภายในประเทศสำหรับการวิจัยและพัฒนา อยู่อันดับที่ 36 ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทยในระดับกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับบน ปัจจัยด้านระบบตลาด ที่แม้ภาพรวมยังคงเดิมในอันดับที่ 27

แต่มีตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่ได้รับการลงทุนเป็นจุดอ่อนของประเทศ อยู่อันดับที่ 87 และปัจจัยด้านผลผลิตจากองค์ความรู้ และเทคโนโลยี ภาพรวมอันดับลดลง 3 อันดับ (อันดับที่ 43)

การพัฒนาที่สอดรับ และสนับสนุนให้ตรงกับปัจจัยและตัวชี้วัดที่เป็นข้อจำกัดเชิงระบบ จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถก้าวกระโดดเป็นประเทศชั้นนำที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เอ็นไอเอ ในฐานะหน่วยประสานและขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมของประเทศ

จึงให้ความสำคัญกับการติดตาม และนำข้อมูลดัชนีนวัตกรรมโลกมาใช้ประโยชน์ในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการออกแบบนโยบายที่เหมาะสม และสอดคล้อง สามารถขับเคลื่อน และปรับเปลี่ยนระบบนวัตกรรมไทยได้อย่างตรงจุด และมีประสิทธิภาพ

ผลการจัดอันดับ และตัวชี้วัดเหล่านี้สะท้อนว่า หลายปีที่ผ่านมาทุกภาคส่วนของประเทศไทยทั้งภาครัฐ การศึกษา เอกชน และประชาชน พยายามยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยระยะสั้นประเทศต้องเร่งขับเคลื่อนใน แนวทางสำคัญ ได้แก่

NIA

รัฐคือ Sandbox และ Accelerator ของนวัตกรรม 

เพื่อให้เกิดพื้นที่นำร่องและสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยนวัตกรรม รวมถึงยกระดับการบริการภาครัฐและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ปรับเปลี่ยนบทบาทภาครัฐจากผู้ควบคุม กำกับ เป็นผู้ส่งเสริมและผลักดันให้ประเทศมีความสามารถทางด้านนวัตกรรม

เร่งการเติบโตในการลงทุนทางนวัตกรรมเชื่อมกับการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย 

โดยเฉพาะในภาคเอกชนไทยที่มีสัดส่วนการลงทุนสูงกว่าหน่วยงานภาครัฐอย่างโดดเด่น ดังนั้น หากเร่งส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมจะช่วยเร่งการเติบโต การใช้ประโยชน์ การลงทุน และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิจัยและพัฒนาจากต่างประเทศ เพื่อสร้างผลผลิตทางนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลก

กระตุ้นกิจกรรม และสร้างฐานข้อมูลตลาดการเงินนวัตกรรม และตลาดทุนทางเทคโนโลยี

โดยสร้างความเข้มแข็งให้กับตลาดธุรกิจเงินร่วมลงทุน ระบบการร่วมลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงในการพัฒนานวัตกรรมของภาคเอกชน และลดความเสี่ยงสำหรับการลงทุนในระยะเริ่มต้น พร้อมทั้งสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนแก่ธุรกิจที่ดำเนินการวิจัย และพัฒนา นวัตกรรมผ่านสถาบันการเงินไมโครไฟแนนซ์

เพิ่มจำนวนวิสาหกิจฐานนวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างทางธุรกิจ

การปฏิรูปโครงสร้างทางธุรกิจไปสู่ประเทศที่แข่งขันด้วยเทคโนโลยีและองค์ความรู้ รวมถึงเกิดการสร้างธุรกิจใหม่ที่ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่มูลค่า และเป็นการสร้างตลาดแรงงานทักษะสูงที่ใช้ความรู้เข้มข้นเพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพมาสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ อุตสาหกรรม และบริการ

กระตุ้นการจดทะเบียนสิทธิบัตร และใช้ประโยชน์สิทธิบัตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และบริการ

ประเทศไทยมีการยื่นจดผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ หรืออนุสิทธิบัตรสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก แต่นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมากนัก จึงต้องพัฒนานโยบายเชิงรุกด้านการลงทุน และการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในประเทศ

และจะช่วยปรับปรุงการเข้าถึงความรู้ และเทคโนโลยีทั้งในประเทศและระดับโลก รวมถึงการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่เอื้อต่อการกระตุ้นการเติบโตของทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในเชิงของโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการคุ้มครอง การจดทะเบียนความสะดวกรวดเร็ว

เพิ่มจำนวนนวัตกรรมฐานความคิดสร้างสรรค์ และวัฒนธรรม 

ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สามารถนำไปสู่นวัตกรรมที่หลากหลาย สามารถสอดแทรกไปในหลายอุตสาหกรรม เช่น ท่องเที่ยว อาหาร แฟชั่น บันเทิง ฯลฯ ทั้งนี้ การนำพลังอำนาจอ่อน (Soft Power) มาพัฒนาอุตสาหกรรม และทำให้เกิดการสร้างแบรด์ระดับโลกมีปรากฏให้เห็นในหลายประเทศ

ซึ่งประเทศไทยมีจุดเด่นด้านทุนทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ หลากหลาย และเป็นที่รับรู้ในเวทีสากล แต่การส่งเสริมและการใช้เครื่องทางการสื่อสารและการตลาดมาสนับสนุนการรับรู้ และการเติบโตในเวทีสากลยังมีอยู่จำกัด จึงจำเป็นต้องใช้ประโยชน์เครื่องมือเหล่านี้เพื่อผลักดันการสร้างอัตลักษณ์ และแบรนด์ดิ้งนวัตกรรมไทยไปสู่สากล

NIA

ทั้งนี้ นโยบายของศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ให้ความสำคัญกับ “นวัตกรรมและเชื่อมั่นว่าการที่นวัตกรรมจะเดินหน้าอย่างก้าวกระโดดนั้น ต้องอาศัยความเข้มแข็งของภาคเอกชนโดยมีภาครัฐเป็นกองหนุนที่สำคัญ

เพื่อทำให้ประเทศไทยดีดตัวเองออกจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูงด้วยงานวิจัย และนวัตกรรม และสามารถก้าวสู่การเป็น ประเทศแห่งนวัตกรรม” โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการขับเคลื่อนนวัตกรรมประเทศไทยให้ก้าวสู่อันดับ 1 ใน 30 ของประเทศที่มีความสามารถด้านนวัตกรรมของโลก ภายในปี 2573

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A

สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

Itdayleadger

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.