NTT เผยพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ พบเจ้าของสินค้าปรับตัวช้า มีเพียง17% ขององค์กรในเอเชียแปซิฟิก ที่ระบุว่าลูกค้าเชื่อมั่น และความพึงพอใจต่อแบรนด์ มากกว่า AI หรือ หุ่นยนต์…

highlight

  • ผลสำรวจจากรายงานประจำปี “Global Customer Experience Benchmarking Report” พบมีเพียง12 ขององค์กรในแถบเอเชียแปซิฟิกที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ครบวงจร ขณะที่ 64% พิจารณาจากการมอบประสบการณ์ให้กับลูกค้า (Customer Experience : CX) ถือเป็นการสร้างความแตกต่างให้องค์กร
  • อย่างไรก็ตาม การเก็บรวบรวมความคิดเห็นของลูกค้า (VoC) จากองค์กรต่างๆ มีการปรับปรุงได้ดีขึ้นถึง 45% นับตั้งแต่ปี 2562 จากการทำแบบฟอร์มสอบถามความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ โดย 10% ขององค์กร มองว่าการเก็บรวบรวมความคิดเห็นของลูกค้าในองค์กรอยู่ในระดับที่ก้าวหน้าในทุก ๆ ช่องทาง

NTT เผย HyperPersonalization อาวุธการตลาดยุคใหม่มัดใจผู้บริโภคยุคดิจิทัล

เมื่อไม่นานนี้ ทาง เอ็นทีที ได้ออกมาเผยถึงข้อมูลผลสำรวจจากรายงานประจำปี Global Customer Experience Benchmarking Report ในหัวข้อ The Connected Customer: Delivering an effortless experience.” 

พบว่า มีเพียง 12% ขององค์กรในแถบเอเชียแปซิฟิกที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ครบวงจร ขณะที่ 64% พิจารณาจากการมอบประสบการณ์ให้กับลูกค้า (Customer Experience : CX) ถือเป็นการสร้างความแตกต่างให้องค์กร

NTT

ปราเนย์ อนันด์ ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Intelligent Workplace บริษัท เอ็นทีที จำกัด กล่าวว่า แม้ว่าหลายองค์กรพยายามปรับกลยุทธ์ด้าน CX ให้สอดคล้องกับความคิดเห็นของลูกค้า (VoC) ผลสำรวจกลับพบว่า 54% ขององค์กร ยังไม่มีกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้

ขณะที่ 19% ไม่สามารถเก็บข้อมูล หรือความคิดเห็นลูกค้าได้เลย และมีเพียง 34% ที่กำหนดและติดตามจากประสบการณ์ของลูกค้าโดยคิดเป็นมูลค่าที่เกิดขึ้นได้ และประมาณ 1 ใน 3 (ประมาณ 34%) สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลกับช่องทางต่าง ๆ

แต่กระนั้นการปฏิบัติการในส่วนอื่นยังไม่สามารถมองภาพรวมระบบนิเวศของลูกค้าได้อย่างครบวงจรอย่างไรก็ตาม การรายงานจากทั่วโลกพบว่า การเก็บรวบรวมความคิดเห็นของลูกค้า (VoC) จากองค์กรต่างๆ มีการปรับปรุงได้ดีขึ้นถึง 45% นับตั้งแต่ปี 2562 

จากการทำแบบฟอร์มสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดย 10% ขององค์กร มองว่าการเก็บรวบรวมความคิดเห็นของลูกค้าในองค์กรอยู่ในระดับที่ก้าวหน้าในทุก ๆ ช่องทาง

ลูกค้ายุคใหม่มีความคาดหวังสูงกว่าที่เคยเป็นมา ธุรกิจต่าง ๆ จึงต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า” 

การรับฟังความคิดเห็นของของลูกค้า การรวบรวมข้อมูลจากระบบต่างๆ และการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง AI และ RPA มาใช้ จะทำให้องค์กรสามารถยกระดับการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

อย่างไรก็ตาม บริษัทส่วนใหญ่ยังขาดข้อมูลเชิงลึกที่เป็นส่วนสำคัญในการเข้าถึงลูกค้า และรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าในทุกช่องทาง (Touchpoint) 

NTT

 

ฟังเสียงสะท้อนจากลูกค้า ต้องเริ่มจากการวางกลยุทธ์

ลยุทธ์ด้าน CX ที่ประสบความสำเร็จ จะช่วยปรับปรุงและยกระดับการมีส่วนร่วมของลูกค้าและแบรนด์ รวมทั้งส่งเสริมการดำเนินงานด้านการตลาด แต่องค์กรไม่น้อยในปัจจุบันยังติดในขั้นตอนการพัฒนา เนื่องจากไม่มีระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม ประสบการณ์ที่ไม่สอดคล้องกัน และขาดกระบวนการที่ชัดเจน การพัฒนาในส่วนนี้จึงมีความท้าทายในหลาย ๆ ด้าน ประกอบด้วย

  • ระบบเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม : ราวหนึ่งในห้า หรือประมาณ 20% ขององค์กรยอมรับว่า ระบบเทคโนโลยีในองค์กรไม่สามารถรองรับหรือตอบสนองความต้องการของลูกค้า และหลายฝ่ายในองค์กรยังคงใช้ระบบเดิม (42%) ขณะที่ระบบยังเป็นการรวมเข้ากันของหลากหลายเทคโนโลยี (43%) นอกจากนี้การจัดสรรงบประมาณที่ไม่ชัดเจน (48%) และการขาดแคลนทักษะ (26%) ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญ
  • การขาดความร่วมมือและการสื่อสารภายในองค์กร : จำนวนครึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 51% ขององค์กรยอมรับว่า มีการทำงานร่วมกันเพียงบางส่วนเมื่อมีการออกแบบ CX ขณะที่อีก 13% ยังไม่มีการทำงานร่วมกันเลย ทั้งนี้พบว่าน้อยกว่า 2 ใน 3 หรือ 60% ขององค์กรไม่มีกลยุทธ์ในการจัดการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านช่องทางต่างๆ และ มีเพียง 30% ที่ระบุว่ามีการติดต่อสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอในทุกช่องทาง
  • การจัดลำดับความสำคัญที่ไม่สอดคล้องกัน : ความสามารถในตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะรายบุคคล (Personalization) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 62เป็น 78% ภายในหนึ่งปี แต่มีเพียง 17% ขององค์กรที่กำหนดให้ ความพึงพอใจของลูกค้า หรือ customer delight มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในการวางแผนกลยุทธ์ ซึ่งทำให้มากกว่าหนึ่งในสาม (44%) ของบริการสอบถามข้อมูลไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าได้ในการติดต่อครั้งแรก ขณะเดียวกันช่องทางอัตโนมัติยังไม่สามารถตอบสนองลูกค้าได้ โดยมีอัตราความล้มเหลวถึง 57%

สรรค์สร้างระบบ CX ที่ชาญฉลาดด้วย Data Analytics

จากรายงานพบว่ากว่าสามในสี่ หรือ 77% ขององค์กร พึงพอใจต่อความสามารถในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า แต่ 17% ของลูกค้ากลับให้คะแนนประสบการณ์ของลูกค้า (CX) ในระดับ ผู้สนับสนุน หรือ Advocacy Level” 

ที่น่ากังวลคือ 11% ของผู้ใช้เทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์ มองว่าการให้คะแนนในระดับดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงช่องว่างระหว่างเทคโนโลยีใหม่กับระดับความพึงพอใจ ผลสำรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องสร้างกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดโดยใช้เทคโนโลยี AI บนฐานข้อมูลที่เหมาะสม

องค์กรจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะเติมเต็มช่องว่างในการจัดการข้อมูลและผสานเข้ากับเทคโนโลยี รวมทั้งจัดลำดับความสำคัญของแพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ผลสำรวจยังพบว่า มีเพียงครึ่งหนึ่ง หรือ 50ของการเก็บข้อมูลในองค์กรได้มีการปรับให้สอดคล้องกับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่กำหนดไว้

โดยมีองค์กรเพียง 20% ที่มีทีมงานดูแลการจัดการข้อมูลทั้งหมดของบริษัท ขณะที่อีก 15% ยังไม่มีกลยุทธ์ด้านการจัดการข้อมูลเลย เพราะด้วยเหตุนี้ ข้อมูลจึงทวีความสำคัญ ทำให้การจัดการข้อมูลมีความซับซ้อนมากขึ้น รายงายระบุว่า 50% ของทีมงานในองค์กรยังอยู่ในช่วงประเมิน และเรียนรู้วิธีการใช้ข้อมูลที่มีอยู่

และอีก 22% ไม่มีทักษะการจัดการข้อมูลหรือไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะจัดการงานดังกล่าว ขณะที่ปัจจุบัน องค์กรจำนวนไม่น้อยกำลังพุ่งเป้าไปที่การใช้ประโยชน์จากข้อมูลอัจฉริยะ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจด้านการสร้างประสบการณ์ลูกค้า

กว่าครึ่งขององค์กรธุรกิจมีความเห็นตรงกันว่า การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และการจัดการข้อมูล (Data Management) เป็นหนึ่งในสามโครงการด้านเทคโนโลยีที่ทีมงานด้าน CX ให้ความสำคัญ โดยการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) ถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรก (59%)

ในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมด้าน CX ในอีก 5 ปีข้างหน้า ตามมาด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (57%) การให้บริการเฉพาะรายบุคคล (38%) และการผสมรวมกันของเทคโนโลยี (37%)

NTT

ก้าวข้ามความท้าทายของโครงสร้างองค์กรธุรกิจ

หลายองค์กรเชื่อว่า AI และระบบอัตโนมัติเป็นอนาคตของการสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงาน และการตอบสนองลูกค้าเฉพาะรายบุคคล (Hyper Personalization) ด้วยการมอบประสบการณ์ที่เอื้อให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้า และบริการทุกรูปแบบด้วยวิธีที่ง่ายที่สุด (Effortless Customer Experience) 

ซึ่ง 71% ขององค์กรธุรกิจ เชื่อว่าการตอบสนองความต้องการของลูกค้าจะได้รับผลเชิงบวกจากการใช้เทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์ CX  ซึ่งโซลูชั่นด้านหุ่นยนต์แบบ Rulesbased Robotics จึงเป็นทางเลือกที่องค์กรธุรกิจมีความต้องการใช้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้

โดย AI จะเป็นเทคโนโลยีสำคัญในอีก 5 ปีจากนี้ไป จากการสำรวจพบว่า (71%) ขององค์กรธุรกิจ มองว่าการตอบสนองความต้องการของลูกค้าจะได้รับผลเชิงบวกจากการใช้เทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์ CX เป็นอันดับแรก ตามมาด้วยข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจและระบบบริหารลูกค้าอัจฉริยะ (52%) 

และการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี (43%) อย่างไรก็ตาม การวางระบบ AI ยังเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับองค์กรมากกว่าครึ่ง (59%)

NTT

ในปัจจุบันธุรกิจจึงจำเป็นต้องมองว่าเทคโนโลยี เช่น  AI และ RPA สามารถทำงานเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทีมขององค์กรได้อย่างไรบ้าง และการจะทำเช่นนี้ให้สำเร็จ AI ต้องทำงานร่วมกับข้อมูลความคิดเห็นลูกค้าที่เก็บรวบรวมจากสื่อสังคมต่าง ๆ

โดยข้อมูลจะต้องรวบรวมมาจากทั้งห่วงโซ่ทางธุรกิจ เพื่อช่วยให้ AI สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมต่างๆ ได้อย่างมีคุณภาพ  ดังนั้นแนวคิดการออกแบบและรูปแบบวิธีการที่มุ่งเน้นการเก็บข้อมูลทั้งระบบนิเวศจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.