Red Hat เผย Business Automation คือ ความสำเร็จ บนเส้นทางทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล

Red Hat

เร้ดแฮท (Red Hat) เผย ระบบธุรกิจอัตโนมัติ (Business Automation) คือ ความสำเร็จ บนเส้นทางทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลขององค์กร…

Red Hat เผย Business Automation คือ ความสำเร็จ บนเส้นทางทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล

กวินธร ภู่ตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เร้ดแฮท (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ความท้าทายของธุรกิจในปัจจุบันคือจำเป็นต้องดำเนินงานให้ฉับไวมากขึ้นกว่าในอดีต ใช้ทรัพยากรน้อยลง ทั้งด้านงบประมาณ และบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางปี 2563 ซึ่งบุคลากรจำนวนมากต้องทำงานจากบ้านในช่วงที่โควิดแพร่

ระบาด ส่งผลให้ฝ่ายไอทีขององค์กรหลายแห่งต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานและทบทวนขีดความสามารถในการให้บริการแก่ลูกค้าและการขยายธุรกิจให้เติบโตในช่วงสถานการณ์ความไม่แน่นอน  ทางออกของความท้าทายนี้อาจเป็นระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ยังไม่ได้นำมาใช้งานอย่างเต็มศักยภาพ

Red Hat
กวินธร ภู่ตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เร้ดแฮท (ประเทศไทย) จำกัด

ระบบอัตโนมัติทางธุรกิจ : เริ่มต้นที่คำจำกัดความ

คำจำกัดความของระบบอัตโนมัติทางธุรกิจ (Business Automation) กำลังเปลี่ยนไป เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ ได้หันไปให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล ในอดีต องค์กรมักจะเน้นปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจให้เป็นอัตโนมัติ

เช่น การจัดเก็บข้อมูล แต่ทุกวันนี้ องค์กรทุกแห่งต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) และจำเป็นต้องนำระบบอัตโนมัติต่าง ๆ มาใช้ เพื่อช่วยทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัล  ก่อนหน้านี้ การใช้ระบบอัตโนมัติเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นรูปแบบอัตโนมัติ

แต่ปัจจุบัน ควรพิจารณานำระบบอัตโนมัติไปใช้ทางธุรกิจมากขึ้น เช่น การปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบใหม่ ให้สอดคล้องกับกระบวนการทางธุรกิจ แล้วจึงจัดโมเดลเหล่านี้ให้เป็นระบบที่ง่ายต่อการบำรุงรักษาและกระจายการทำงาน

แต่เดิม เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process Management: BPM), การจัดการการตัดสินใจ (Decision Management) และการประมวลผลเหตุการณ์ที่ซับซ้อน (Complex Event Processing: CEP) ถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและควบคุมค่าใช้จ่ายให้

กับส่วนงานต่าง ๆ ภายในองค์กร  แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีเหล่านี้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่รองรับการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล การนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ให้สอดคล้องกับเครื่องมือ และแนวทางการพัฒนาโมเดิร์นแอปพลิเคชั่นแบบคลาวด์เนทีฟ จะช่วยให้องค์กรนำเสนอแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น

Red Hat

บทบาทของระบบอัตโนมัติ ต่อการทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น

แม้ว่าความจำเป็นในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นจะขึ้นอยู่กับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละองค์กร แต่เป็นที่ชัดเจนว่าดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นคือกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้ในสภาพตลาดปัจจุบัน รายงานผลการศึกษาของไอดีซี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเร้ดแฮท ชี้ว่า

บุคลากรฝ่ายไอที 86% ระบุว่า ระบบอัตโนมัติมีความสำคัญอย่างมากหรือมีความสำคัญสูงสุดต่อกลยุทธ์ด้านคลาวด์ในอนาคตขององค์กร แนวทางการสร้างระบบอัตโนมัติที่ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กรจะต้องรวมถึงการปรับเปลี่ยนวิธีที่บุคลากร กระบวนการ และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทำงานร่วมกันด้วย

ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงคุณประโยชน์ของระบบอัตโนมัติก็ คือ บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ (Ascend Money) ของไทย ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านการเงินที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีลูกค้ากว่า 40 ล้านคน ใน 6 ประเทศ แอสเซนด์ มันนี่เติบโตอย่างรวดเร็วจากการเข้าซื้อกิจการหลายแห่ง

และการที่ทีมงานในแต่ละประเทศมีวิธีการพัฒนาและใช้ดิจิทัลแอปพลิเคชั่นแตกต่างกัน ส่งผลให้ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้วยการสร้างแพลตฟอร์มกลางสำหรับการพัฒนาและติดตั้งแอปพลิเคชั่น ซึ่งแอสเซนด์ มันนี่ ได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับกระบวนการ และการให้

บริการแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ บน OpenShift Container Platform ของเร้ดแฮท ซึ่งทำงานอยู่บนเทคโนโลยี Kubernetes container orchestration นอกจากนี้ Ansible automation ยังช่วยให้แอสเซนด์ มันนี่ สามารถขยายผลิตภัณฑ์และบริการทางธุรกิจได้อย่างง่ายดาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที

Red Hat

ระบบอัตโนมัติขับเคลื่อนนวัตกรรมทางธุรกิจ

การขยายระบบอัตโนมัติไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ จะช่วยให้ทำงานแบบแมนนวลน้อยลง ทีมงานฝ่ายไอทีสามารถนำกระบวนการใหม่ ๆ เช่น DevOps และ DevSecOps ไปใช้ได้ และสามารถพัฒนา และอัพเดตแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ระบบอัตโนมัติยังช่วยเรื่องการบริการตนเองหรือทำงานได้ด้วยตนเอง และการมอบหมายงาน

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้คนจำนวนมากต้องทำงานภายใต้เงื่อนไขใหม่ ๆ เช่น พนักงานจำนวนมากที่ทำงานจากระยะไกล ทำให้เราทุกคนล้วนได้รับแรงกดดันทั้งในเรื่องของทรัพยากรและเวลาที่จำกัด  การมอบหมายงานและการทำงานได้ด้วยตนเองมีความสำคัญมากต่อการรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ เหล่านี้

อย่างไรก็ตาม ทีมไอทีย่อมจะไม่สามารถเขียนโค้ดและสร้างผลิตภัณฑ์ได้หากขาดการตรวจสอบและการควบคุมที่เพียงพอ องค์กรอาจได้รับความเสี่ยงจากช่องโหว่ด้านความปลอดภัย และทำให้ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรที่มีค่า เวลา และเงินไปกับการแก้ปัญหาที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นตั้งแต่แรก ดังนั้น ในการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกำกับดูแลว่า ใครได้รับอนุญาตให้ทำอะไรได้บ้าง

 ก้าวต่อไป : ระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย AI

ปัจจุบันระบบอัตโนมัติช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านไอที และเพิ่มความคล่องตัวในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ปรับปรุงประสิทธิภาพ เพิ่มความน่าเชื่อถือ ยกระดับขีดความสามารถด้านการคาดการณ์ ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่าย ความผันผวน และความเสี่ยง 

เทคโนโลยีและรูปแบบการใช้งานสำหรับระบบอัตโนมัติทางธุรกิจมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีที่ต้องประเมินแนวทางที่ดีที่สุดในการขับเคลื่อนความคล่องตัวทางธุรกิจ ควรมองหาโซลูชั่นที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการนโยบาย การบังคับใช้ และกระบวนการได้ในระดับโดเมน การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน

ณ จุดเดียว จะช่วยให้ปรับขยายการทำงานได้ง่าย ควบคู่กับการใช้เวลาที่ลดลง เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถจัดสรรทรัพยากรให้กับโครงการสำคัญ ๆ ได้มากขึ้น หากการปรับตัวคือเป้าหมายหลักในปี 2563 ในปี 2564 องค์กรก็ควรยกระดับมาพิจารณานำระบบอัตโนมัติทางธุรกิจมาเป็นส่วนหนึ่งของโรดแมปการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) 
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.freepik.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/itday.in.th

Itdayleadger

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.