เมื่อโรงเรียน (School) 4.0 มาเร็วกว่าที่คาด!! หัวเว่ย (Huawei) ชี้ เทคโนโลยีจะช่วยพาการศึกษาไทยทันสมัย และเท่าเทียม…
School 4.0 มาเร็วกว่าที่คาด!! พร้อมช่วยพาการศึกษาไทยทันสมัย และเท่าเทียม
การกลับมาอีกระลอกของสถานการณ์โควิด-19 ในขณะนี้ทำให้ทุกฝ่ายต้องปรับตัวกันอีกครั้ง เราต่างได้เห็นปรากฏการณ์การปรับตัวครั้งสำคัญของสังคมไทยทั้งในภาครัฐ และธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งหนึ่งในภาคส่วนสำคัญของสังคมไทยที่ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ก็คือ “ภาคการศึกษาไทย“
ที่ถึงแม้จะมีการวางแผนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การศึกษายุคดิจิทัลเอาไว้แล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าโควิด-19 ทำให้การปรับตัวดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และจำเป็นต้องพึ่งตัวช่วยสำคัญอย่างนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ เพื่อช่วยให้การปลี่ยนผ่านด้านการศึกษาไทยเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด
โครงสร้างพื้นฐานที่พร้อม และปลอดภัยเพื่อการศึกษาแบบนิวนอร์มัลอย่างมีเสถียรภาพ
ผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ การปรับการเรียนการสอนไปยังแพลตฟอร์มออนไลน์แทนการศึกษาในห้องเรียน นั่นหมายความว่าโครงข่ายการเชื่อมต่อต้องมีความพร้อมเพียงพอที่จะรองรับการจัดห้องเรียนออนไลน์ที่มีนักเรียนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากได้
โดยสถานการณ์ระบาดระลอกใหม่ภายในประเทศครั้งนี้ส่งผลให้หลายโรงเรียนกลับมาจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์อีกครั้ง ระบบการศึกษาของประเทศไทยจึงจำเป็นต้องร่วมมือกับพาร์ทเนอร์จากหลายแวดวงเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการเรียนออนไลน์ให้ดียิ่งขึ้น หัวเว่ย ประเทศไทย
นอกจากจะเป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์ผู้พัฒนา และให้บริการโครงข่ายการเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพ ยังได้ริเริ่มโครงการเพื่อนำเอาเทคโนโลยี และโซลูชันมาช่วยพัฒนาการศึกษาออนไลน์ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพที่สุด สอดคล้องกับนโยบายระดับโลกของ หัวเว่ย ที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาโดยการนำเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วย

ปรับตัวอย่างรวดเร็วไปพร้อมกันด้วย TECH4ALL
เคน หู รองประธานกรรมการบริหาร ของ หัวเว่ย กล่าวไว้ว่า หัวเว่ยเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน ควรมีสิทธิเข้าถึงการศึกษา และได้รับโอกาสที่เกิดจากการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ ในประเทศจีน หัวเว่ยได้มีโครงการความร่วมมือกับสำนักงานการศึกษา
วิทยาศาสตร์ และกีฬา ของ อำเภอเผิงอัน (Peng’an County Education, Science, and Sports Bureau; PESSB) เพื่อมุ่งสร้างความเท่าเทียมด้านการศึกษาโดยการพัฒนาโครงข่ายการเชื่อมต่อที่แข็งแกร่งรวมไปถึงเปิดคอร์สการเรียนออนไลน์เพื่อทำให้เด็ก ๆ ในอำเภอเผิงอันสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างเท่าเทียม
กับเด็ก ๆ ในเมืองใหญ่ สำหรับในประเทศไทย หัวเว่ยมุ่งมั่นในการพัฒนาแวดวงการศึกษาภายใต้บรรยากาศการเปลี่ยนแปลงสู่การเรียนการสอนออนไลน์
โดยได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหลายแห่งในการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาโครงสร้าง รวมไปถึงแบ่งปันองค์ความรู้ จาก หัวเว่ย เพื่อบ่มเพาะบุคลากรด้านไอซีทีในประเทศไทย เป็นการสานต่อพันธกิจของ TECH4ALL ในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา หัวเว่ย ประเทศไทยได้ริเริ่มโครงการที่มุ่งพัฒนาด้านการศึกษาหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนการใช้โซลูชันคลาวด์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในกระบวนการวิจัยและประเมินผล
การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน ภายใต้ “RMUTI NEXT GEN DIGITAL UNIVERSITY“ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อปฏิรูปและปรับปรุงระบบการศึกษา รวมถึงการจัดแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีบนคลาวด์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ในชื่อว่า Huawei CLOUD Developer Contest เพื่อค้นหา และสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีศักยภาพของไทยโดยเฉพาะในกลุ่มนักศึกษา

สู่การศึกษา 4.0 ด้วยกัน อย่างยั่งยืน
การพัฒนาด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียมจะมีความยั่งยืนหากบุคลากรได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างความรู้ควบคู่ไปด้วย หัวเว่ยจึงมุ่งมั่นที่จะบ่มเพาะความสามารถให้แก่บุคลากรในแวดวงการศึกษาด้านไอทีผ่านโครงการต่าง ๆ โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าในประเทศไทย
ได้แก่ โครงการของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่หัวเว่ยได้รับเกิยรติให้สนับสนุนการจัดตั้ง ICT Academy แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นหนึ่งในการเสริมสร้างพลังแห่งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีของประเทศต่อไป
รวมถึงการริเริ่มโครงการ Huawei Academy ASEAN และ Huawei Cloud Academy เพื่อต่อยอดการพัฒนาต่อไปในอนาคตอีกด้วย ในอนาคตอันใกล้ เทคโนโลยีโครงข่ายการเชื่อมต่อ และเทคโนโลยีคลาวด์จะทวีความสำคัญมากขึ้นในทุกวงการรวมถึงภาคการศึกษา
หัวเว่ย ประเทศไทย รู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการปรับ และพัฒนาเทคโนโลยีด้านการศึกษาในประเทศไทย และยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนทุกภาคส่วนของประเทศไทยด้วยองค์ความรู้ และนวัตกรรม สร้างโครงข่ายพื้นฐาน นวัตกรรม และบุคลากร ที่จะนำไปสู่ การศึกษา 4.0 และ Thailand 4.0 อย่างเท่าเทียม และยั่งยืน
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th