ศูนย์พัฒนา และส่งเสริมการเรี
SEAC เผย การพัฒนาทักษะ ความท้าทายครั้งใหม่!! ที่องค์กรต้องเร่งปรับตัว
อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ เอสอีเอซี (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนา และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า ในปีนี้ ทุกองค์กรต่างเผชิญการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ บางองค์กรได้รับแรงเสริมเป็นปัจจัยบวก ส่งผลให้ธุรกิจดำเนินได้ด้วยดี
แต่สำหรับองค์กรที่ได้รับปัจจัยเชิงลบ ส่งผลต่อการบริหารธุรกิจเป็นระลอก ในจำนวนองค์กรที่ไม่สามารถต้านทานกระแสเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาได้นั้น อาจเป็นเพราะไม่ได้วางระบบภูมิคุ้มกัน นั่นคือ “การทรานส์ฟอร์มองค์กร“ และ “เสริมศักยภาพคนด้วย New Skills“ เพื่อให้องค์กรมีรากฐานการเปลี่ยนแปลงที่มั่นคง
และสามารถปรับตัวได้เท่าทันเข้ากับกระแสเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทุกองค์กรต้องรู้ คือ ความไม่แน่นอนของโลกเศรษฐกิจในวันนี้ยังจะคงอยู่กับเราต่อไป แต่จะนานแค่ไหน หรือจะจบเมื่อไหร่ไม่มีใครกำหนดได้ หรือที่เรียกว่าวิกฤต VUCA World หลังโควิด-19
ดังนั้น ทุกองค์กร ต้องไม่นิ่งนอนใจและเตรียมความพร้อมที่จะเผชิญความท้าทายครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น และต้องใส่ใจกับตัวแปรที่มีนัยยะสำคัญ นั่นคือ การทรานส์ฟอร์ม “คน“ ให้สำเร็จ เพราะต่อให้องค์กรมีเทคโนโลยีที่ดีที่สุด มีข้อมูล Data ที่มากที่สุด แต่ถ้าคนไม่เปลี่ยนวิธีคิด สิ่งเหล่านั้นจะไม่เกิดประโยชน์ และองค์กรจะสำเร็จยากขึ้น
ดังนั้น การเสริมภูมิศักยภาพให้ “คน“ เกิดวิธีคิดแบบ “Lifelong Learning Mindset“ เพื่อค้นหาวิธีการ และทักษะใหม่ New Skillset ด้วยตัวเอง ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจมากที่สุด
ล่าสุด เอสอีเอซี ได้จัดงาน เอสอีเอซี Talks Forum : Essential Skills for Thai Workforce 2021 เพื่อร่วมเสวนาข้อมูลสู่การยกระดับศักยภาพคน สังคม และธุรกิจไทย บนบริบทที่เป็นคำถามของสังคมไทยว่า “ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ต้อง “ปรับ“ และ “เปลี่ยน“ การเรียนรู้สู่โลกทำงาน และยกระดับธุรกิจในอนาคต”

พร้อมชี้ภาพกระแส NEW WORKFORCE 2021 เพื่อให้องค์กรสามารถเตรียมปรับรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ กับความท้าทายใหม่ ทั้งองค์กร และคนทำงานทุกคน ได้แก่
- Cross–gen Workforce กับคนทำงาน 4 เจนเนอเรชั่นที่มาทำงานร่วมกันในองค์กร การเพิ่มเจนใหม่เข้ามาร่วมทำงาน และนับเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อโลกธุรกิจยุคใหม่ คือ เด็ก Gen Z กลุ่มคนที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกทันสมัย ที่อยู่แวดล้อมที่แตกต่าง มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มีความคิดสร้างสรรค์ และชอบความท้าทาย นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายองค์กรว่าต้องทำอย่างไร ถึงจะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานได้ เพราะใช้วิธีการรูปแบบเดิมๆ จะไม่สามารถใช้กับ Gen Z ได้ต่อไป องค์กรต้องเร่งปรับ และแสวงหารูปแบบ วิธีการทำงาน วิธีการสื่อสารใหม่ ๆ ที่จะตอบโจทย์การทำงาน เพื่อให้ทั้ง 4 Generations สามารถทำงานด้วยกันและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- Remote Work ที่เป็น Now Normal สถานที่ทำงานอาจไม่ใช่คำตอบของการทำงานอีกต่อไป ยิ่งหลังสถานการณ์โควิด-19 หลายองค์กรหันมาทำงานแบบ Remote Work มากขึ้น ดังนั้น โจทย์ขององค์กรในอนาคต คือ ต้องทำอย่างไรที่จะสามารถสร้าง Engagement ระหว่างคน และองค์กรรูปแบบใหม่ ๆ สร้างการสื่อสารแบบไหน การประเมินผลสำหรับการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร รวมถึงรูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มคนที่ทำงานจากต่างสถานที่กัน ซึ่งเรายังต่อเรียนรู้ และนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนในการทำงานแบบระยะไกลมากขึ้น มากกว่าการประชุมผ่านแอปพลิเคชั่นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
- Revisit และปรับการสื่อสารภายในองค์กรอย่างจริงจัง ปีหน้าสภาวะของเศรษฐกิจและธุรกิจยังคงมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้นองค์กรต้องเน้นสื่อสารให้ถี่ขึ้น ต่อเนื่องมากขึ้น และโจทย์สำคัญ คือ องค์กรจะสื่อสารกับคนในองค์กรอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ สามารถแย่งชิงเนื้อหา ข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่ปริมาณต่อวันเยอะมาก ๆ ได้ รวมทั้งทำอย่างไรให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการเนื้อหาที่สั้น กระชับ ตรงประเด็นและถี่มากที่สุดรวมถึงมีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น
- Work Life Integrationเทรนด์ใหม่กับชีวิตที่ไม่ต้อง Balance คือ การผสมผสานชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัวเข้าด้วยกัน “คน” ต้องมาเริ่มเปลี่ยน Mindset ใหม่ว่า จะทำอย่างไรให้งานและชีวิตสามารถ เป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งกว่า 80% ขององค์กรระดับโลกให้ความสนใจ และเริ่มหันมาทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง อาทิ เราใช้ช่วงเวลากลางวันในการติดต่อประสานงานกับลูกค้า ประชุมกับเพื่อนร่วมงาน และไปรับส่งลูก ดังนั้น เราใช้ช่วงเวลากลางคืนในการเคลียร์งานในส่วนของเรา เป็นต้น
- Reskill & Upskill มุ่งพัฒนา Soft Skills และ Mindset นัยยะสำคัญ คือ การที่องค์กรส่วนใหญ่ของโลกได้เริ่มทรานส์ฟอร์มองค์กร และคนอีกครั้ง ผ่านการวาง Roadmap ที่ชัดเจนเลยว่าพนักงานแต่ละคน แต่ละแผนกจะต้องอัพสกิลเรื่องอะไรบ้าง รีสกิลเรื่องอะไรบ้าง และสิ่งที่องค์กรต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น คือ เรื่องของ Soft Skills และ Mindset เพื่อที่จะไปตอบบทบาทและหน้าที่การทำงานของแต่ละคนมากขึ้น
ด้าน อานนทวงศ์ มฤคพิทักษ์ Head of People LINE MAN Wongnai กล่าวว่า หัวใจสำคัญที่ทำให้องค์กร สามารถดำเนินธุรกิจ และบริหารคน ที่รวมคนในแต่ละ Generation มาทำงานร่วมกัน และเป็นหนึ่งในองค์กรที่คนรุ่นใหม่อยากทำงานมากที่สุด
“ยุคนี้เป็นยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ คนทำงานก็ต้องปรับตัวเร็ว มีความ Agile มี Growth Mindset กล้าทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าล้มเหลว เพื่อค้นหาสิ่งใหม่ที่ดีขึ้น อีกทั้ง ในส่วนของหัวใจการทำงาน คือ การมองเพื่อนร่วมงานเป็นมนุษย์คนหนึ่ง
เราจะปฏิบัติกับเขาเหมือนเป็นเพื่อนกัน เป็นพี่น้อง เป็นคนที่มีความต้องการและความเจ็บปวดเหมือนกับเรา สุดท้ายก็เป็นการเตือนตัวเองและทีมให้ปฏิบัติต่อพนักงานอย่างมีความเคารพ และเหมาะสมที่สุด”
และมุมมองของผู้ที่บังเอิญเดินทางเข้าสู่วงการบริหารงานบุคคล จนเข้าใจวัฏจักรชีวิตมนุษย์องค์กรได้เป็นอย่างดี กับบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์แรงบันดาลใจใหม่ๆ ผ่านประสบการณ์การทำงานกับผู้คนในทุกรูปแบบ เพื่อให้ “คน” สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมากขึ้น
ขณะที่ อภิชาติ ขันธวิธิ เจ้าของเพจ HR The Next Gen และ Co-Founder QGEN กล่าวว่า โลกของการทำธุรกิจวันนี้มีความท้าทายใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายตลอดเวลา ทำให้เกิดการแข่งขันสูงมาก ตอนนี้ Speed เป็นเรื่องสำคัญในการทำธุรกิจ ทุกองค์กรต้องปรับตัวอยู่เสมอ
ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้องค์กรแข่งขันบนเวทีการค้าได้คือเรื่องของ “คน“ ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการจะลงทุนเรื่องเทคโนโลยีพัฒนาสินค้าดีๆ แต่ถ้าวางระบบคนไม่ดี หรือไม่ได้เลือกคนที่ถูกต้องตั้งแต่ต้น ก็คงไม่สามารถดึงศักยภาพที่ดีที่สุด ของการทำงานในองค์กรให้ออกมาได้ เมื่อคนเก่งขึ้น องค์กรจะแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
“เมื่อเรารับรู้เกี่ยวกับ NEW WORKFORCE 2021 ที่กำลังจะเกิดขึ้น ดังนั้น หลายองค์กรต้องให้ความสนใจ เพื่อยกระดับศักยภาพคนให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น พร้อมทั้งติดตั้งวิธีคิดแบบ “Lifelong Learning Mindset“ เพื่อให้คนเกิดการเรียนรู้บนบริบทของ New Skillset ใหม่
จนเกิดการขับเคลื่อนองค์กรด้วยวิธีคิดและ การบริหารแบบใหม่ ส่งผลให้เกิดผลเชิงบวกต่อศักยภาพองค์กรให้สามารถฝ่าฟันสถานการณ์ต่างๆ ที่ไม่แน่นอนของโลกแห่งความไม่แน่นอนได้” อริญญา กล่าว
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th