สหภาพยุโรป ออกลูกคุมเข้ม!! กำหนดให้ผู้ผลิตพอร์ตชาร์จแบบ USB-C ต้องทำให้ได้มาตรฐาน USB-PD หากทำไม่ได้จะไม่ให้ตัวแทนจำหน่ายในสหภาพยุโรปรับสินค้าไปจำหน่าย..
highlight
- สหภาพยุโรป ได้ออกข้อบังคับที่เกี่ยวกับการผลิตเครื่องที่ต้องมี “ยูเอสบี-ซี” (USB-C) โดยกำหนดให้ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือต้องมีพอร์ตชาร์จแบบสากล โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ และแก้ปัญหาการแบ่งแยกตลาด นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังต้องการปรับปรุงการติดฉลาก การชาร์จไฟเร็ว อีกด้วย
สหภาพยุโรป คุมเข้ม!! เล็งแบนผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ขายเครื่องที่มีพอร์ตชาร์จ USB–C ไม่ได้มาตรฐาน USB–PD
คณะกรรมาธิการยุโรป หน่วยงานกำกับดูแลของสหภาพยุโรป ได้ตัดสินใจ ว่าตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป โทรศัพท์มือถือทุกแบรนด์จะต้องมาพร้อมกับพอร์ตชาร์จสากล และจะต้องเป็นพอร์ตแบบ ยูเอสบี-ซี โดยสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 27 ประเทศ มีถึงวันที่ 28 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ในการออกกฎหมายในประเทศของตน
โดยคำสั่งนี้ครอบคลุมทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, กล้องดิจิทัล, หูฟัง, ชุดหูฟัง, คอนโซลวิดีโอแบบพกพา, ลำโพงพกพา, เครื่องอ่านอีบุ๊ก, คีย์บอร์ด, เมาส์, ระบบนำทางแบบพกพา และหูฟังแบบอินเอียร์ ที่ชาร์จไฟได้ด้วยสาย และสามารถทำงานด้วยกำลังส่งสูงสุด 100 วัตต์
อย่างไรก็ดีทาง สหภาพยุโรป ได้ยืดเวลาให้แบรนด์ผู้ผลิตแล็ปท็อปเพิ่มเติมจนถึงวันที่ 28 เมษายน 2026 (อีก 16 เดือน) เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ขณะที่ อุปกรณ์บางประเภท เช่น PlayStation 5 ซึ่งมีกำลังไฟเข้า 350W ยังไม่เข้าข่ายตามข้อบังคับดังกล่าว ในส่วนของ โดรน หรือเครื่องชาร์จไร้สาย นั้นยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน
เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการประเมินพัฒนา ขอบเขตของตลาด และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทั้งนี้เพื่อให้รายการอุปกรณ์ในกลุ่มดังกล่าวเข้าหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และเป็นปัจจุบันมากที่สุด อย่างไรก็ตามคำสั่งดังกล่าวเพียงกำหนดให้อุปกรณ์ที่ผลิตมาต้องมีพอร์ตชาร์จ ยูเอสบี-ซี แต่ไม่ได้จำกัดในการใช้เทคโนโลยี และโซลูชันการชาร์จเฉพาะของตนเองได้ อย่างเช่นกรณีของ MacBook เป็นต้น
โดยในกรณีที่หากมีอุปกรณ์ที่ไม่มีพอร์ต ยูเอสบี-ซี เข้ามาวางจำหน่ายในสหภาพยุโรปแล้ว อุปกรณ์ดังกล่าวจะยังคงวางขายตามชั้นวางได้ แต่!! กรณีที่ผู้ผลิตไม่สามารถเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่มีพอร์ต ยูเอสบี-ซี และผู้ค้าปลีก หรือตัวแทนจำหน่าย จะไม่สามารถรับสินค้าที่จัดส่งมาแล้วได้
แบรนด์จีน อาจลำบากมากขึ้น!!
คำสั่ง หรือปรกาศดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับโซลูชันการชาร์จ โดยในข้อกำหนดที่ทางสหภาพยุโรปกำหนดไว้ระบุว่าอุปกรณ์ใด ๆ ที่สามารถชาร์จด้วยสายที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงกว่า 5V กระแสไฟสูงกว่า 3A หรือกำลังไฟสูงกว่า 15W จะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน USB-PD (เทคโนโลยีการชาร์จเร็วผ่านช่องชาร์จ USB-C to USB-C เท่านั้น)
ซึ่งหมายความว่าแบรนด์อย่าง iPhone และ Pixel ที่เป็นแบรนด์สัญชาติอเมริกันไม่ได้ผลกระทบปัญหา แต่แบรนด์สัญชาติจีนอย่าง OnePlus และ OPPO ที่ใช้เทคโนโลยีการชาร์จเร็วของตนเองอย่าง SuperVOOC จะต้องทำให้เครื่องของตนมีตามมาตรฐาน USB-PD
มิฉะนั้น จะไม่สามารถจำหน่าย หรือขายเครื่องในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 27 ประเทศได้ อย่างไรก็ดี ล่าสุด แบรนด์บริษัทจากจีนเหล่านี้ ได้เริ่มพัฒนา และผลิตเครื่องที่รองรับมาตรฐาน USB-PD มาได้ระยะหนึ่งแล้ว จึงคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบในระยะยาว
การลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ยังเป็นเป้าหมายที่สำคัญ!
นอกจากเรื่องของการกำหนดมาตรฐาน USB-PD แล้ว ทางคณะกรรมาธิการยุโรป ยังคงอนุญาตให้ผู้ผลิตแบรนด์ต่าง ๆ ยังคงสามารถจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่โดยไม่ต้องแถมชาร์จใหม่ ได้เช่นเดิม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นไปเป้าหมายในการป้องกันไม่ให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ซื้อที่ชาร์จซ้ำซ้อน แต่ไม่ได้ใช้งาน
ซึ่งหมายความว่าโทรศัพท์สมาร์ทโฟนใน 27 ประเทศของสหภาพยุโรปจะยังไม่มีที่ชาร์จมาให้ในกล่องเช่นเดิม โดยทาง คณะกรรมาธิการยุโรปคาดหวังว่าผู้ใช้จะปรับตัวให้เข้ากับกฎระเบียบนี้ได้มากขึ้นในอนาคต และเพื่อให้สื่อสารได้ดีขึ้น
โดยหลังจากนี้จะขอความร่วมมือกับผู้ผลิตให้ทำกราฟิกบนกล่องของอุปกรณ์เพื่อระบุว่ามีที่ชาร์จมาด้วย หรือไม่ อีกด้วย ในขณะเดียวกัน เริ่มเห็นแนวโน้มที่น่าสนใจคือภูมิภาคอื่น ๆ ที่กำฃังจะเดินตามรอยของสหภาพยุโรป อีกด้วย
ส่วนขยาย
* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล และภาพประกอบบางส่วนจาก www.gsmarena.com
สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th