สกสว. (TSRI) บพท. (PMU A) ยก “แม่ฮ่องสอนโมเดล” ต้นแบบการพัฒนาชายแดน และการยกระดับพื้นที่ พร้อมชูกลุ่มเมืองชายแดนสู่การเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน…
highlight
- กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กองทุน ววน.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยบริหาร และจัดการทุนด้
านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมสนับสนุนงานวิจัยองค์ความรู้ ทางวิชาการการพัฒนาศักยภาพพื้ นที่เมืองชายแดน “แม่ฮ่องสอนโมเดล” พัฒนาพื้นที่ พัฒนาคน เครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาที่ ยั่งยืนเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้ าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สังคมสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเมื องชายแดน ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการแม่ ฮ่องสอนโมเดล (Mae Hong Son Model) สู่การยกระดับต้นแบบการพัฒนาห่ วงโซ่คุณค่าเมืองชายแดน โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้บริ หาร และเจ้าหน้าที่หน่วยบริ หาร และจัดการทุนด้านการพั ฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน นักวิจัยในกรอบการวิจัย ภาครัฐ, ภาคราชการ, ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
TSRI x PMU A ยก “แม่ฮ่องสอนโมเดล” ต้นแบบการพัฒนาชายแดน พร้อมชูกลุ่มเมืองชายแดนสู่การเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน
ชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีเอกลักษณ์โดดเด่นจากวัฒนธรรมที่หลากหลายของชนเผ่า และทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสลับซับช้อน ทำให้การเข้าถึง และการพัฒนามีข้อจำกัด
เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศ และด้วยการมองเห็นศักยภาพในการพัฒนาอย่างยั่งยืน “แม่ฮ่องสอนโมเดล“ จึงได้รับการออกแบบบเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของพื้นที่ โดยเน้นการยกระดับองค์ความรู้ในพื้นที่ การสร้างต้นแบบการพัฒนาที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่
รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่และสร้างความมั่นคงระดับประเทศ แนวทางการพัฒนาเมืองชายแดนในมิติที่หลากหลาย พื้นที่ชายแดนของไทยโดยเฉพาะในภาคเหนือ มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาร่วมกันแทนที่จะแข่งขันกันเพียงลำพัง
“แนวทางการพัฒนานี้ต้องเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาโครงข่ายถนน ถือเป็นสิ่งสำคัญในการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งสินค้า โดยเส้นทางเหล่านี้เชื่อมโยงกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ และอาเซียน
นอกจากนี้ยังสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ การพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ การพัฒนาผู้ผลิตรายย่อยในพื้นที่ผ่านการจัดอบรมด้านการตลาดและเทคโนโลยี
โดยเฉพาะการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า รวมถึงการสร้างเครือข่ายพื้นที่ที่เข้มแข็ง การพัฒนาคลัสเตอร์ การสร้างเครือข่ายทั้งในรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการเพื่อขยายตลาด และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทำให้การค้าขยายตัวได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น” ชูชีพ กล่าว
ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการหน่วยบริหาร และจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่หรือ บพท. กล่าวว่า กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ แม่ฮ่องสอนโมเดล จัดขึ้นเพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และประชาชนในพื้นที่
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน และสร้างประชาคมที่แข็งแกร่งผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมที่แท้จริงด้วยเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืน แม่ฮ่องสอนโมเดล จึงเป็นต้นแบบที่นำศักยภาพของท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม เสริมสร้างความมั่นคงให้กับชุมชน
และส่งเสริมความเชื่อมโยงในระดับภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อศึกษา และรวบรวมองค์ความรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับศักยภาพของพื้นที่ในด้านต่าง ๆ อาทิ การเกษตร การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ สร้างความเข้าใจในความต้องการ และโอกาสในการพัฒนาส่งเสริมฐานการเรียนรู้ของพื้นที่
โดยกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัด และระยะเวลาการดำเนินงานที่ชัดเจน สร้างความสัมพันธ์ และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งใน และนอกพื้นที่ให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง และยั่งยืน “การยกระดับเศรษฐกิจร่วมของพื้นที่เมืองชายแดน”
ภายใต้แผนงานย่อยรายประเด็น “การพัฒนาเศรษฐกิจ และกระจายความเจริญในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ” ประจำปีงบประมาณ 2567 ของแผนด้าน ววน. 2566-2570 กองทุน ววน.โดย สกสว. ที่ดำเนินการโดย บพท.สำหรับแนวทางการพัฒนาเมืองชายแดนในมิติที่หลากหลายพื้นที่ชายแดนของไทย
โดยเฉพาะในภาคเหนือ ที่มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาร่วมกัน แทนที่จะแข่งขันกันเพียงลำพัง แนวทางการพัฒนาจึงต้องเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ได้แก่
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาโครงข่ายถนนถือเป็นสิ่งสำคัญในการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งสินค้า โดยเส้นทางเหล่านี้เชื่อมโยงกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ และอาเซียน นอกจากนี้ยังสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศ
- การส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาผู้ผลิตรายย่อยในพื้นที่ผ่านการจัดอบรมด้านการตลาดและเทคโนโลยี โดยเฉพาะการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า รวมถึงการสร้างเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งเริ่มจากการหาตัวแทนในพื้นที่เพื่อพัฒนาศักยภาพ และความเชี่ยวชาญในระยะยาว
- การพัฒนาเครือข่ายการค้า การสร้างเครือข่ายทั้งในรูปแบบทางการ และไม่เป็นทางการเพื่อขยายตลาด และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทำให้การค้าขยายตัวได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.รัศมี ชูทรงเดช เมธีวิจัยอาวุโส และ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ สกสว. ร่วมบรรยายพิเศษ เรื่อง “รู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน นำพาอนาคตชายแดนแม่ฮ่องสอนสู่โมเดลการพัฒนาเมืองชายแดน จากฐานการเรียนรู้” ระบุว่าการพัฒนาเมืองชายแดนต้องมองตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
ผ่านการฉายภาพจังหวัดแม่ฮ่องสอนในแต่ละช่วงเวลา ทั้งจากอดีต หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี เรื่อยลงมาจนถึงการพัฒนาในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน และหากจะพัฒนาต่อสู่อนาคต ควรมองอย่างไร ร่วมถึงงานองค์ความรู้วิชาการงานวิจัยที่ควรจะต้องดำเนินการ ทั้งนี้ต้องมีการวิเคราะห์ภาพทั้งระบบ ได้แก่
- พื้นที่ ประกอบด้วย ภูมิประเทศ โครงสร้างพื้นฐาน เส้นทาง
- คน กลุ่มชาติพันธุ์ และความหลากหลาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (หน่วยราชการ เอกชน องค์กรระหว่างประเทศ ชุมชน)การจัดองค์กรการเคลื่อนย้าย (ค้าขาย เครือญาติ สงคราม แรงงานขุดแร่ธาตุ)
- ทรัพยากร ที่มีทั้งมิติทางธรรมชาติด้านป่าไม้ แร่ธาตุ พื้นที่ทางเกษตร รวมถึงพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ
- นโยบายที่เกี่ยวข้อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งบริบทภายในประเทศภายนอกประเทศที่สัมพันธ์กับการพัฒนาเมืองชายแดน
- เครือข่ายผู้เกี่ยวข้อง เครือข่ายวัฒนธรรมร่วม “Soft Power” เครือญาติสองแผ่นดิน เครือข่ายทุนในประเทศ ระหว่างประเทศ
“โจทย์ที่เป็นแนวทางพัฒนาเน้นเสริมสร้างความร่วมมือ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างเป็นธรรม การเข้าใจพื้นฐานมรดกวัฒนธรรมร่วม การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเครือข่ายการค้าของเมืองชายแดน และโมเดลทิศทางการวิจัย
ควรจะประกอบด้วย งานวิจัยชั้นแนวหน้า งานวิจัยเชิงพื้นที่ งานวิจัยท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนานักวิจัยเฉพาะทาง บูรณาการ (Hybrid) & ท้องถิ่น เพื่อเกิดวิจัยข้ามพรมแดน เครือข่ายวิชาการระดับนานาชาติ และสุดท้ายต้องพัฒนา Regional integrated Research (ระดับชาติ & นานาชาติ)” ศาสตราจารย์ ดร.รัศมี กล่าว
การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อบูรณาการองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างกลไกความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกพื้นที่ เพื่อร่วมกันวางแผน และกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ชายแดนแม่ฮ่องสอน จากฐานการเรียนรู้สู่การปฏิบัติให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
ตลอดจนนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ไห้กับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยังยืน จากการรวบรวมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาศวิชและประชาชนในพื้นที่ และเพื่อพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า ยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่ สร้างประชาคมที่แข็งแกร่งผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมที่แท้จริง
ด้วยเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืน แม่ฮ่องสอนโมเดล จึงเป็นต้นแบบที่นำศักยภาพของท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม เสริมสร้างความมั่นคงให้กับพื้นที่ และส่งเสริมความเชื่อมโยงในระดับภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th