เอไอเอส (AIS) ผยบล็อกเว็บไซต์อันตรายกว่า 500 ล้านครั้ง พร้อมเปิดให้ใช้บริการ AIS Secure Net ฟรี ทั้งลูกค้ามือถือ และเน็ตบ้าน…
AIS เผยความสำเร็จสามารถบล็อกเว็บไซต์อันตรายกว่า 500 ล้านครั้ง
เอไอเอส เผยข้อมูลจากบริการ “AIS Secure Net” (เอไอเอส ซีเคียว เน็ต) ที่ช่วยปกป้องผู้ใช้งานจากภั
โดยภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ที่
จึงขอชวนคนไทยผู้ใช้บริ
สำหรับลูกค้ามือถือทั้งระบบรายเดือน และเติมเงิน สมัครใช้งานฟรี โดยไม่ต้องติดตั้งแอปพลิเคชันเพิ่มเติม เพียงกด *689*6# และโทรออก และลูกค้าเน็ตบ้าน เอไอเอส ไฟเบอร์ เปิดใช้บริการฟรี ผ่านทาง https://m.ais.co.th/fibresecurenet/
โดยสามารถใช้งานได้กับทุกอุปกรณ์ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต เช่น เครื่อง PC/Notebook สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต สมาร์ททีวี กล่อง เอไอเอส เพลย์ กล่องแอนดรอยทีวี ฯลฯ เพื่อบล็อกเว็บไซต์อันตรายที่มาจากทุกช่องทางทั้ง E-mail, SMS หรือจากการท่องอินเทอร์เน็ต

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์ และงานธุรกิจสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวว่า ในวันนี้ที่สังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น เรายังคงเดินหน้าสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ให้กับคนไทยอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ภารกิจ “เอไอเอส อุ่นใจไซเบอร์”
ทั้งการพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยสร้างความปลอดภัยด้านการใช้งานให้กับลูกค้า โดยเฉพาะบริการ เอไอเอส ซีเคียว เน็ต ที่ทำหน้าที่ปกป้องคนไทยไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของภัยออนไลน์ รวมถึงการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลให้รู้เท่าทันกลโกงมิจฉาชีพผ่านหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์
นอกจากนี้ อยากจะแนะนำให้ประชาชนป้องกันตัวจากภัยไซเบอร์ได้ด้วยตนเองง่า ยๆ อาทิ ไม่ใช้ WiFi สาธารณะทำธุรกรรมทางการเงิน, ไม่ตั้งรหัสผ่านที่สามารถคาดเดาได้ง่าย เช่น วันเดือนปีเกิด และใช้ URL ที่ปลอดภัย (HTTPS) แทนการใช้ HTTP เพื่อลดความเสี่ยงได้อีกด้วย
จากข้อมูลของ เอไอเอส ซีเคียว เน็ต ที่ช่วยปกป้อง และแจ้งเตือนผู้ใช้งานจากภัยคุกคามต่างๆ บนโลกออนไลน์ ด้วยการตรวจจับและบล็อกเว็บไซต์ที่มีความเสี่ยง พบว่าภัยจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่คนไทยตกเป็นเหยื่อมากที่สุด 3 ประเภทที่ผู้ใช้งานควรระวัง ได้แก่
- อันดับ 1 มัลแวร์ (Malware) : โปรแกรมประสงค์ร้ายที่ซ่อนมากับเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน เพื่อหลอกเข้าใช้บนระบบเหมือนเป็นผู้ใช้งานจริง เมื่อผู้ใช้เผลอคลิกเข้าไปในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เหล่านี้เสมือนเป็นการเปิดช่องทางให้แฮกเกอร์สามารถควบคุมอุปกรณ์ มองเห็นการใช้งานต่าง ๆ และรวมถึงสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้
- อันดับ 2 เว็บไซต์ปลอม (Phishing Sites) : การปลอมแปลงหน้าเว็บไซต์จริง มุ่งประสงค์หลอกลวงให้ผู้ใช้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน, เลขบัตรประชาชน, วันเดือนปีเกิด รวมถึงข้อมูลทางการเงิน
- อันดับ 3 ไวรัส (Virus Sites) : โปรแกรมที่แฝงมาบนเว็บไซต์ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ กับระบบการใช้งานทำให้ระบบทำงานผิดปกติ ช้าลง และอาจนำไปสู่การสูญเสียข้อมูลสำคัญ
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th