กลุ่มสามารถ (SAMART Group) เดินเกมใช้ Unlimited Solutions Strategy เพื่อวางรากฐานใหม่ พร้อมตั้งเป้ารายได้ 2 หมื่นล้าน ภายในปี 63 หลังธุรกิจในเครือฟิ้นตัว…
highlight
- กลุ่มบริษัทสามารถ ผู้ให้บริการเทคโนโลยีครบวงจร เดินหน้าสร้างความมั่นคงทางธุรกิจ โดยมุ่งเน้น 3 เป้าหมายหลัก ได้แก่ ลงทุนในธุรกิจที่มีความต้องการสูง ลงทุนในธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ และลงทุนในธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต พร้อมชูกลยุทธ์ Unlimited Solutions เพื่อตอบโจทย์ Digital Transformation แก่ภาครัฐและเอกชน โดยตั้งเป้าหมายรายได้ 20,000 ล้านบาท
SAMART Group เตรียมปรับรากฐานธุรกิจก้าวสู่ผู้ให้บริการแบบ Unlimited Solutions
วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ปี 2019 ที่ผ่านมา เป็นปีแห่งการพลิกฟื้น และวางรากฐานธุรกิจใหม่ของกลุ่มสามารถ มีการสร้างผลงานเด่นๆที่จะเป็นโอกาสสร้างรายได้ต่อเนื่องในอนาคต ทั้งธุรกิจด้าน Banking Solutions ในการทำระบบ Core Banking ให้กับแบงก์ ธอส.
และแบงก์เอสเอ็มอี, โครงการระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับธุรกิจหลัก ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่มีมูลค่าถึงกว่า 5,000 ล้านบาท ,โครงการสถานีไฟฟ้าย่อย (Substation) และการนำสายไฟลงดิน หรือ Underground Cable Services ของบริษัท เทด้า ที่มีงานในมือแล้วประมาณ 3,500 ล้านบาท
ส่วนธุรกิจที่มีโอกาสสร้างรายได้ในปีนี้ คือ Digital Trunk Network ที่ติดตั้งเครือข่ายครอบคลุมไปแล้วประมาณ 90% ซึ่งจะเป็นโอกาสในการจำหน่ายเครื่อง Digital Trunk Radio เพิ่มขึ้น ในส่วนธุรกิจ Cyber Security ที่ได้ทาง IBM เข้ามาเป็นพันธมิตร และใช้เทคโนโลยี Watson AI ในการตวจจับมาใช้
ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการให้บริการ ทำให้มีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้น 40-50% โดยจะเป็นงานของสายธุรกิจ ICT มากถึง 9,500 ล้านบาท
สำหรับปี 2020 นี้ แม้จะมีการคาดการณ์ว่าสภาพเศรษฐกิจอาจจะยังไม่สดใสนัก แต่ “กลุ่มสามารถ“ มั่นใจที่จะให้เป็นปีแห่งการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและขยายธุรกิจด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยชูกลยุทธ์นำเสนอ โซลูชั่นและเทคโนโลยีที่หลากหลาย หรือ Unlimited Solutions
จากปัจจัยที่มาจากนโยบายภาครัฐที่จะก้าวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) ด้วยการส่งเสริมด้านเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตและการแข่งขัน ทั้ง บริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Public Services)
บริการในกลุ่มของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ (Critical Infrastructure), บริการทางด้านไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ (Cyber Security), บริการเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Technology) และการทำงานการบริหารงานบุคคลเชิงกลยุทธ์ (Human Transformation) ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจของ “สามารถ” จึงตั้งเป้ารุกธุรกิจโดยแบ่งการดำเนินธุรกิจใหม่ในเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ (High Demand Solutions for Critical Infrastructure)
ซึ่งจะให้บริการโซลูชั่นที่เกี่ยวช้องทางด้านเงิน (Finance and Banking Solutions) เช่น ระบบไอทีหลักของธนาคาร (Core Banking), ระบบการชำระเงิน (Payment Service)
และบริการศูนย์ข้อมูลสำหรับธนาคาร (Data Center for Banks) ซึ่งปีนี้น่าจะเห็นหลากๆธนาคารลงทุนในส่วนต่าง ๆ มากขึ้น โดยจะให้บริการในกลุ่มของธนาคาร อาทิ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเอสเอ็มอี ฯลฯ รวมมูลค่ากว่า 3,000 ถึง 4,000 ล้านบาท
ธุรกิจที่เกี่ยวการขนส่งการบินสาธารณะด้วยเทคโนโลยี (Airport Solutions) จากโครงการระบบตรวจบัตรโดยสารขึ้นเครื่อง (CUTE) และ ระบบตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้า (APPS) ของ บมจ.ท่าอากาศยานไทย ที่มีมูลค่ารวมกว่า 8,000 ล้านบาท
ธุรกิจบริการ Cyber Security ที่เฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่ส่งผลกระทบกับธุรกิจต่างๆ สูงขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงการที่ พรบ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ 2562 จะบังคับใช้กับหน่วยงานต่าง ๆ โดยมี บริษัท ซีเคียวอินโฟ จำกัด (SECUREiNFO Co.,Ltd.)
ที่จะส่งมอบบริการให้แก่ทางด้านกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจึงมีทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ซึ่งคาดว่าจากแนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้นทำห้มีความต้องการระบบป้องกันเผ้าระวังภัยคุกคามมากขึ้น
ด้าน จง ดิลกสมบัติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ SAMTEL กล่าวเสริมว่า ในปีที่ผ่านมาเราสามารถสร้างการรับรู้ และนำเสนอความเชี่ยวชาญ ทำให้ sme bank ใช้บริการ และทำให้เราเป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะจบปี 63 สามารถสร้างรายได้รวมได้กว่า 90-100 ล้าน
จากมูลค่าตลาดรวมที่มี 200 ถึง 300 ล้านบาท ขณะที่ในอนาคตคาดว่าน่าจะเห็นแนวโน้มของการลงทุนระบบเฝ้าระวังภัยคุกคามมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อหน่วยงานรัฐเข้าใจถึงความสำคัญของการระบบป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ไม่ใช้เพียงเรื่องของการป้องกันโครงสร้างไอทีภายในองค์กร แต่ต้งรวมไปถึงต้องสามารถป้องกันภียคุกคามได้จากภายนอกด้วย
ขณะที่บริการ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Solution) ที่เกี่ยวข้องกับ Nationwide Fiber Optic, IP Telephony ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าที่ใช้บริการ และยังลงทุนต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น กกระทรวงมหาดไทย, การรถไฟแห่งประเทศไทย และอื่น ๆ ซึ่งคากว่าจะมีมูลค่า 2,000 ล้านบาท
กลุ่มธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (High Recurring Rev. Projects)
โดยในปี 2019 กลุ่มสามารถมีรายได้ประจำอยู่ที่ 5,400 บาท และในปี 2020 นี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 6,200 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโครงการของสายธุรกิจ ICT ที่คาดว่าปีนี้จะมีโอกาสเข้าร่วมประมูลอีกประมาณ 2 หมื่นล้านบาท อาทิ โครงการกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บมจ.ท่าอากาศยานไทย ธนาคารและสถาบันการเงิน เป็นต้น
กลุ่มธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูง (High Future Growth Business)
ที่นอกจากเราลงทุนในธุรกิจสถานีไฟฟ้าย่อย (Substation) และการนำสายไฟลงดิน หรือ Underground Cable รวมถึงธุรกิจด้านพลังงาน หรือ Solar Energy แล้ว ปีนี้ กลุ่มสามารถจะนำบริษัทในเครือเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงไตรมาส 2 คือ
บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ หรือ SAV ที่ดำเนินธุรกิจลงทุนในบริษัทอื่น (Holding company) โดยเน้นลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจการจราจรทางอากาศ หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการจราจรทางอากาศ โดย SAV ถือสัดส่วนร้อยละ 100.00 ในบริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด “CATS” เพียงบริษัทเดียว
โดยธุรกิจของ CATS เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำและมีการเติบโตขึ้นทุกปี จากการเติบโตท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชา และเศรษฐกิจของเพื่อนบ้าน ที่ส่งผลต่อจำนวนเที่ยวบินที่ขึ้นลงในสนามบินและเที่ยวบินที่บินผ่านน่านฟ้ากัมพูชาที่เพิ่มขึ้น
สำหรับ ปี 2563 นี้ สภาพที่เศรษฐกิจน่าจะได่รับอนิสงค์ขสกการมาของเทคโนโลยี 5G ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค และพลิกโฉมเศรษฐกิจอีกครั้ง การรับส่งข้อมูลระยะไกลจะรวดเร็วแม่นยำขึ้น ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก IoT ได้อย่างเต็มศักยภาพ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ซึ่งเราเองก็เริ่มเตรียมความพร้อมไว้แล้ว
เช่น สาธารณสุข การขนส่ง ความมั่นคง ระบบการเงินรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะส่งผลต่อโอกาสทางธุรกิจ ของกลุ่มสามารถ บริษัทฯ จึงตอบรับความท้าทายอย่างมั่นใจด้วยการตั้งเป้ารายได้ในปี 63 เชื่อว่าจะเติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่า 40% และมีรายได้ในปี 63 ไว้ที่ 20,000 ล้านบาท
ซึ่งน่าจะคิดเป็นรายได้จากโครงการต่าง ๆ ของหน่วบงานภาครัฐต่าง ๆ อย่างน้อย 80% และที่เหลือก็จะเป็นรายได้จากบริการในส่วนอื่น ๆ
“สำหรับแผนดำเนินการธุรกิจของกลุ่ม บริษัท สามารถ ต่อจากนี้ จะเป็นการนำเสนอโซลูชั่น แบบควบรวม ด้วยการนำเสนอโซลูชั่นจากกลุ่มบริษัทฯ ในเครือทั้งหมด ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในแต่ล่ะอุตสาหกรรม” วัฒน์ชัย กล่าวสรุป
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th