กลุ่มทรูสนับสนุน รพ.สนามแห่งแรกภูเก็ต ติดตั้ง True 5G มอบหุ่นยนต์ดูแล ทรู โรโบติกส์ และหุ่นยนต์ปิ่นโต พร้อม ซิม 5G-Ready และ CPE 5G รวมภึง ทรู ID TV Box…
highlight
- กลุ่มทรูสนับสนุนเต็มที่ โรงพยาบาลสนามแห่งแรกของภูเก็ต ติดตั้งเครือข่ายอัจฉริยะ ทรู 5G มอบหุ่นยนต์ดูแลผู้ติดเชื้อเทมิจากทรู โรโบติกส์ พร้อมมอบซิม ทรู 5G-Ready และอุปกรณ์รับสัญญาณ CPE 5G รวมทั้งติดตั้งหุ่นยนต์ปิ่นโตจาก CU-RoboCovid และ ทรู ID TV Box ภายในโรงพยาบาล
กลุ่มทรู ขนเทคโนโลยี True 5G หนุน รพ.สนามแห่งแรก ณ จ.ภูเก็ต
กลุ่มทรู เดินหน้าต่อเนื่องทั่วประเทศ โดยล่าสุด นำศักยภาพเทคโนโลยี ทรู 5G เครือข่ายอัจฉริยะ พร้อมหลากหลายโซลูชั่นด้านการแพทย์ ส่งมอบให้โรงพยาบาลสนามวชิระภูเก็ต โดยมี ภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต (ที่ 3 จากขวา) เป็นผู้แทนรับมอบหุ่นยนต์เทมิ (Temi) หุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ
โดยมีผู้บริหารกลุ่มทรูประจำภาคใต้ ชวฬุรีย์ จันทร์เพ็ชร (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้จัดการฝ่ายขายประจำจังหวัดภูเก็ต ก่อนส่งมอบต่อให้กับ รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดี วิทยาเขตภูเก็ต เพื่อนำไปประจำการในโรงพยาบาลสนามวชิระภูเก็ต
อีกทั้งได้ติดตั้งสัญญาณ ทรู 5G พร้อมสนับสนุนซิม ทรู 5G-Ready รวมทั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ CPE 5G และส่งมอบอุปกรณ์สื่อสารเครื่อง ทรู Smart Adventure แก่บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลสนามวชิระภูเก็ตให้สามารถสื่อสารระหว่างกันได้สะดวกยิ่งขึ้น สานต่อโครงการ “ทรู ส่งใจให้ฮีโร่ไทย สู้ภัย โควิด–19”
นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับคณะวิศวฯจุฬาฯ พร้อมด้วยบริษัทสตาร์ทอัพ HG Robotics และ Obodroid ภายใต้โครงการ CU-RoboCovid ติดตั้งปิ่นโตหุ่นยนต์ขนส่งอัจฉริยะ (Quarantine Delivery Robot) ผ่านระบบสื่อสารทางไกล (Quarantine Telepresence) รวมทั้งควบคุมรถเข็นได้จากระยะไกล (Remote Cart)
เพื่อใช้ภายในโรงพยาบาลสนามวชิระภูเก็ต รวมทั้งมอบแท็บเล็ตจากหัวเว่ยให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้สำหรับวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยใช้เครือข่าย ทรู 5G เพิ่มศักยภาพในการควบคุมทางไกล และเพิ่มความแม่นยำในการทำงานของหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถแบ่งเบาภาระการปฎิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดี
ลดการเสี่ยงติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ ณ โรงพยาบาลสนาม วชิระภูเก็ต จ.ภูเก็ต ทั้งนี้ยังได้ติดตั้ง ทรู ID TV Box ภายในโรงพยาบาลสนาม เพื่อช่วยผ่อนคลายจิตใจของผู้ป่วยให้คลายความวิตกกังวลอีกด้วย
โดยหุ่นยนต์ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์ (Quarantine Delivery Robot) มาพร้อมระบบสื่อสารทางไกล Telepresence และรถเข็นควบคุมจากระยะไกล (Remote Cart) ทำให้สามารถนำมาใช้ในการขนส่งอาหาร ยาหรือ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ เคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำ สามารถติดตั้งมาพร้อมกับแท็บเล็ต
ที่มีระบบสื่อสารทางไกล (Telepresence) บนรถเข็นเพิ่มความสามารถในการทำงานควบคู่กับการสื่อสารกับคนไข้ได้แบบ 2 ทาง โดยบุคลากรทางการแพทย์ไม่ต้องเสี่ยงต่อการติดชื้อ ลดอัตราการใช้อุปกรณ์การแพทย์จากการถอดเปลี่ยนชุดทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนโซนการรักษาที่มีความเสี่ยง รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแพทย์
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th