เสี่ยวมี่ (Xiaomi) เผย Mi 360° และแอป Xiaomi Home ผ่านมาตรฐาน BSI Kitemark™ ในด้านผลิตภัณฑ์ IoT สำหรับที่พักอาศัยและ Secured Digital Apps…
Xiaomi เผย Mi 360° และแอป Xiaomi Home ผ่าน 2 มาตรฐานจากองค์กรชั้นนำ
เมื่อวานนี้ เสียวหมี่ ผู้นำด้านเทคโนโลยีของโลก ประกาศว่า กล้องรักษาความปลอดภัย Mi 360° ได้รับการรับรอง Kitemark™ ด้านผลิตภัณฑ์ IoT สำหรับที่พักอาศัยจาก British Standard Institution (BSI) หรือสถาบันมาตรฐานอังกฤษ
ซึ่งเป็นองค์กรที่ผลักดันการพัฒนาทางธุรกิจ และมาตรฐานต่าง ๆ นอกจากนี้ แอป เสี่ยวมี่ Home App ยังผ่านการรับรอง Kitemark™ ในด้าน Secured Digital Applications อีกเช่นเดียวกัน
การได้รับการรับรอง Kitemark™ บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์ของเสียวหมี่นั้น ได้มาตรฐานความปลอดภัยที่เป็นเลิศ รวมถึงผ่านมาตรฐาน EN303645 ซึ่งเป็นมาตรฐานจาก European Telecommunications Standard Institute (ETSI)
จึงนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จจากการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของเสียวหมี่ในด้านการป้องกันข้อมูลความปลอดภัยและข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค
Frank Zhang กรรมการผู้จัดการบริษัท BSI Greater China กล่าวว่า พวกเรามีความยินดีที่ผลิตภัณฑ์จากเสียวหมี่ อาทิ กล้องรักษาความปลอดภัย Mi 360° และแอป เสี่ยวมี่ Home App ได้ผ่านการรับรอง Kitemark™ เสียวหมี่ได้ใช้ความพยายามอย่างมากที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้า BSI รอวันที่จะได้ร่วมงานกับเสียวหมี่ในอนาคต เพื่อยกระดับการพัฒนาอีโคซิสเต็ม IoT ด้วยการสร้างความน่าเชื่อถือระหว่างแบรนด์ และผู้บริโภค
Kitemark™ คือเครื่องหมายทางการค้าที่แสดงถึงคุณภาพสินค้า และบริการจาก BSI ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ทดสอบและตรวจสอบระบบที่ใช้ IoT เป็นหลักภายใต้มาตรฐาน ETSI/EN303645 จึงทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ IoT ต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว
เสียวหมี่คือผู้ครอบครองแพลตฟอร์ม AIoT ชั้นนำของผู้บริโภค ด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์กว่า 351 ล้านเครื่อง และมีผู้ใช้งานกว่า 49 ล้านราย เสียวหมี่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูล และข้อมูลส่วนบุคคลเป็นอันดับแรกมาโดยตลอด เพราะเหตุนี้ เสียวหมี่จึงได้จัดทำระเบียบการจัดการและเทคโนโลยีเพื่อรักษาข้อมูลความปลอดภัย
ทั้งนี้ แพลตฟอร์ม AIoT ของเสียวหมี่ได้รับการรับรองทั้ง ISO/IEC 27001 มาตรฐานสากลสำหรับระบบการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security Management Standard) และ ISO/IEC 27701 มาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Information Management System) จาก BSI
ในขณะเดียวกัน เสียวหมี่เองก็ได้จัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ของผลิตภัณฑ์ Internet of Things และนโยบายความเป็นส่วนตัว IoT ของเสียวหมี่ (Cyber Security Baseline for Consumer Internet of Things Devices and Xiaomi IoT Privacy White Paper)
โดยทั้ง 2 ฉบับ เป็นการแนะนำการคุ้มครองความปลอดภัย และข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทในรูปแบบที่ผู้บริโภคสามารถเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
Cui Baiqiu รองประธานบริษัท และประธานคณะกรรมการความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวของเสียวหมี่ เปิดเผยว่า กล้องรักษาความปลอดภัย Mi 360° และแอป เสี่ยวมี่ Home App คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการนำนโยบายความปลอดภัย และความเป็นส่วนบุคคลมาใช้งานจริง
โดยใช้มาตรฐานการทดสอบความปลอดภัยขั้นสูงจากห้องปฏิบัติการของ BSI รวมถึงการตรวจสอบความปลอดภัยต่าง ๆ สถาบัน BSI ได้ยืนยันแล้วว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้นำมาทดลองนั้นถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับความปลอดภัยที่เข้มงวด และหลักปฏิบัตินโยบายความเป็นส่วนตัว
พวกเราขอเน้นย้ำอีกครั้งว่า การรักษาความปลอดภัยข้อมูลผู้ใช้งาน และความเป็นส่วนตัวคือสิ่งที่เราให้ความสำคัญมากที่สุด และหลักการนี้จะครอบคลุมทุกพื้นที่ทางการค้าที่เราได้เข้าไปทำธุรกิจ
- ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 (ไม่รวมสินค้าสมาร์ทโฟน และแล็ปท็อป)
- สามารถดาวน์โหลดนโยบายความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ของผลิตภัณฑ์ Internet of Things และ นโยบายความเป็นส่วนตัว IoT ของเสียวหมี่ ได้ที่ https://trust.mi.com/
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th