หัวเว่ย (Huawei) เดินหน้าผลักดันชีวิต เอไอ (AI) ไร้รอยต่อสำหรับทุกไลฟ์ไตล์ ผ่านกลยุทธ์ 1+8+Nมุ่งสร้างอีโคซิสเต็มอัจฉริยะที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้ใช้…
Huawei ลุยสานต่อกลยุทธ์ 1+8+N หวังสร้างอีโคซิสเต็มด้วยสินค้า AI สำหรับทุกไลฟ์ไตล์
มร.อิงมาร์ หวาง ผู้อำนวยการ บริษัท หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป (ประเทศไทย) เผยถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มุ่งสร้างวิถีชีวิตอัจฉริยะที่ไร้รอยต่อ (Seamless Smart AI Life) ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านอีโคซิสเต็มที่สมบูรณ์แบบด้วยการเชื่อมต่อเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ (ดีไวซ์)
เข้ากับระบบซอฟท์แวร์ที่จะช่วยยกระดับประสบการณ์การใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีขึ้นไปอีกขั้น ตามกลยุทธ์ธุรกิจขององค์กร 1+8+N ซึ่งเป็นหลักในการพัฒนาสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ของหัวเว่ย เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งานและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคอย่างรอบด้าน
ครอบคลุม 5 สถานการณ์หลักในชีวิต ได้แก่ บ้านอัจฉริยะ (Smart Home), ออฟฟิศอัจฉริยะ (Smart Office) การเดินทางอัจฉริยะ (Smart Travel) สุขภาพ และฟิตเนส (Fitness & Health) และความบันเทิง (Entertainment)
ยัน!! สมาร์ทโฟน และสมาร์ทดีไวซ์มียอดขายเพิ่มสูงขึ้น
ภาพรวมตลาดในปีผ่านมาของ หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป ในระดับโลกยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในกลุ่มผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟน และสมาร์ทดีไวซ์อื่น ๆ มียอดขายเพิ่มสูงขึ้นถึง 34% ในตลาดสมาร์ทโฟนหัวเว่ยยังคงรั้งอันดับ 2 ในแง่ของส่วนแบ่งตลาด
โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 17.6% ขณะที่ยอดนำส่งผลิตภัณฑ์เพิ่มสูงกว่า 240 ล้านเครื่อง และเมื่อเทียบแบบปีต่อปี หัวเว่ยเติบโตสูงถึง 16.8% ในขณะที่กลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ ยังคงเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป (PC) มียอดนำส่งผลิตภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้นกว่า 200%
ขณะที่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสวมใส่ (wearables) เพิ่มสูงขึ้นกว่า 170% และผลิตภัณฑ์ในกลุ่มหูฟังไร้สาย (wireless audio) เติบโตมากกว่า 200% โดยตัวเลขและตัวอักษรในกลยุทธ์ 1+8+N สะท้อนถึงการเชื่อมต่อแบบบูรณาการของสมาร์ทดีไวซ์ ภายในอีโคซิสเต็มของหัวเว่ย
โดยเลข 1 หมายถึง สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์หลักที่จะเป็นหัวใจในการเชื่อมต่อและควบคุมการทำงานของดีไวซ์อื่นๆ ขณะที่ 8 หมายถึง สมาร์ทดีไวซ์อื่น ๆ อีก 8 อย่างที่จะเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน ได้แก่ แล็ปท็อป แท็บเล็ต สมาร์ทวอทช์ หูฟังไร้สาย แว่นตา ทีวีหรือหน้าจออัจฉริยะ ลำโพง และรถยนต์
ส่วน N หมายถึง อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (IoT) และเครื่องหมาย “+“ หมายถึง เครือข่ายการเชื่อมต่อในบริเวณกว้าง (WAN) และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อระยะใกล้ เช่น Huawei Share และ HiLink โดยมี Router, CPE, T-Box และ Module ที่จะผสานเครือข่ายอีโคซิสเต็มของหัวเว่ยให้สมบูรณ์
เพื่อมอบประสบการณ์การทำงานที่ลื่นไหล เต็มประสิทธิภาพ และให้ชีวิตเอไอ ไร้รอยต่อเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมผ่านการใช้งานจริงบนสมาร์ทดีไวซ์ต่าง ๆ ของหัวเว่ยในชีวิตประจำวัน
ตามกลยุทธ์หลัก 1+8+N หัวเว่ยต้องทุ่มเทในแง่การลงทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเชื่อมต่อและทำงานอย่างบูรณาการได้ โดยเดินหน้าลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมร.อิงมาร์ได้เน้นย้ำว่า หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ให้ความสำคัญในด้านนี้
โดยมียอดการลงทุนด้านการวิจัย และพัฒนาสูงมากกว่า 6 แสนล้านหยวน (หรือราวๆ 2.7 ล้านล้านบาท) ในช่วงกว่าสิบปีที่ผ่านมา และจากการพัฒนาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีเอไอ หัวเว่ยจึงได้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตในด้านการใช้งานเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเอไอ
โดยมีจำนวนบัญชีผู้ใช้ หัวเว่ย ไอดี ที่แอคทีฟในแต่ละเดือนมากกว่า 300 ล้านบัญชี จำนวนอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบได้ (ไม่ใช้สมาร์ทโฟน) เพิ่มมากกว่า 180 ล้านเครื่อง ผู้ใช้อีโคซิสเต็ม HiLink มากกว่า 50 ล้านราย และจำนวนพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจของอีโคซิสเต็ม HiLink ที่เพิ่มมากกว่า 800 รายทั่วโลก
“การเชื่อมโยงมุกสิ่งเข้าด้วยกันของหัวเว่ย (Cross device Collaboration, for Seamless Immersion) ในส่วนของกรณีที่อุปกรณ์ IoT ของเราไม่สามารถเชื่อมโยงกับทาง Google ได้ ไม่ใช่เรื่องที่เรากังวลแต่อย่างใดเพราะเราไม่ใช่เป็นเพียงผู้ผลิตอุปกรณ์
แต่เราเป็นผู้ที่พัฒนาโซลูชั่นด้วย ทำให่เราสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สามารถเขื่อมโยงทุการใช้ชีวิตได้ และเป็นไปตามกลยุทธ์ 1+8+N เป็นกลยุทธ์ระยะยาวของเรา ซึ่งแผนระยะสั้น HiLink ช่วยเชื่อมโยงกับอุปกรณ์อื่น ๆ ของแบรนด์อื่น จึงไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด”
จากแนวโน้มการเติบโตดังกล่าว หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป ต้องการที่จะมอบโซลูชั่นส์ที่ตอบโจทย์ได้อย่างตรงจุด จึงนำมาสู่แนวทาง หัวเว่ย Seamless Smart AI Life (ชีวิตเอไอ ไร้รอยต่อ) ซึ่งมุ่งพัฒนาทั้งอีโคซิสเต็มของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และอีโคซิสเต็มของแอปฯ หรือระบบ
โดยในด้านของฮาร์ดแวร์มีสมาร์ทโฟนเป็นหัวใจสำคัญ ขณะที่ด้านของแอปฯ หรือระบบ มี HMS (Huawei Mobile Services) เป็นศูนย์กลาง ซึ่งการพัฒนาด้านฮาร์ดแวร์หรือตัวอุปกรณ์ดีไวซ์ต่างๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้ได้ลองใช้สมาร์ทดีไวซ์ตามไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันไปได้มากยิ่งขึ้น
ขณะที่การพัฒนาด้านแอปฯ หรือระบบ จะช่วยยกระดับประสบการณ์การใช้งานให้ดียิ่งกว่าที่เคย ซึ่งทั้งสองอีโคซิสเต็มจะได้รับการเชื่อมโยงและบูรณาการการทำงานผ่านเทคโนโลยีเอไอ จากอัตราการเติบโตในแง่ของยอดการสั่งซื้อ และนำส่งผลิตภัณฑ์ทั้งในกลุ่มสมาร์ทโฟนและสมาร์ทดีไวซ์ต่าง ๆ ของแบรนด์
เมื่อรวมกับภาพรวมการเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 5G สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีอัจฉริยะ และอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (IoT) ที่เพิ่มสูงขึ้น หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป ในฐานะผู้นำในการผลิต และพัฒนาอุปกรณ์เทคโนโลยี มองการณ์ไกลถึงทิศทางธุรกิจในอนาคต
ทั้งยังตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างและมอบคุณค่าให้แก่ผู้ใช้ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ จึงนำไปสู่การพัฒนากลยุทธ์ 1+8+N ที่จะต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตอบรับเทรนด์ดังกล่าว ให้มีความสามารถเชื่อมต่อและทำงานแบบบูรณาการระหว่างอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้อย่างลื่นไหล ภายในอีโคซิสเต็มอัจฉริยะของตนเอง
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก N/A
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ www.facebook.com/itday.in.th